วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ปวส วิชาการออกแบบโปรแกรมใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เนื้อหา



          4.1  ลักษณะของโปรแกรมCAD  ส่วนประกอบบนหน้าจอหลักของ  เมนู แถบเครื่องมือการ ปรับแต่ง โปรไฟล์ แถบเครื่องมือ โปรแกรม AutoCAD 2004
          การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้อง มีอุปกรณ์ช่วยที่นิยม CAD (Computer Aided Drafting) หรือ (Computer Aided Design) ระบบการทำงานของ CAD ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ CAD system = Hardware + Software + Users
โปรแกรม AutoCAD เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์มีคำสั่งในการสร้างเส้นมาก มายเพื่อให้สะดวกในแต่ละสาขางาน โปรแกรม Auto CAD ยังมีคำสั่งที่เปรียบเหมือนเป็นเครื่องมือในการเขียนแบบให้ใช้งานมากมาย ทั้งงานวิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สถาปัตยกรรม และสามารถติดต่อกับโปรแกรม CAD-CAM ได้ทุกโปรแกรม AutoCAD ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่เราได้นำมาช่วยในงานของเราในลักษณะที่มีการสร้างงานให้เร็วขึ้น และยังสามารถสร้างความถูกต้องแม่นยำบนชิ้นงานของเราอีกด้วย ถ้ามีการเปรียบเทียบการทำงานด้วยมือแล้ว จะมีข้อได้เปรียบอยู่หลายประการ  ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
-         ลดระยะเวลาในการออกแบบ และเขียนแบบ
-         ช่วยลดระยะเวลาในการแก้ไข และดัดแปลงในแบบที่ได้เขียนเสร็จไปแล้ว
-         มีความถูกต้องแม่นยำสูง ลดความผิดพลาดในการทำงาน
-         ลดเวลาในการจัดเก็บ และค้นหางานที่ต้องการ


-         สร้างภาพพจน์ที่ดีในการนำเสนอผลงาน

-         สามารถใช้เป็นมาตรฐานที่ดีในการทำงานต่อไปได้



ส่วนประกอบของหน้าจอที่สำคัญ
          1.Command line  จะเป็นตัวรับคำสั่งที่เราป้อนจากคีย์บอร์ดโดยตรง หรือ เมื่อปรากฎเครื่องหมาย พร็อมต์ (Prompt) ที่ คอมมานไลน์ (Command line)
1.      Graphic area จะเป็นส่วนพื้นที่ที่ใช้ในการแสดงรูปภาพที่เราสร้างขึ้นมาในแบบหลากหลายลักษณะตามความต้องการของเรา
2.      Graphic cursor จะเป็นส่วนที่เราเรียกว่า เส้นสายใย (Cross hair) ซึ่งจะทำหน้าที่สร้างรูปภาพ โดยการใช้ร่วมกับคำสั่งใน ออโตแคด หรือใช้ในการ pick ส่วนของภาพหรือคำสั่งในเมนูต่างๆของโปรแกรม
3.      สกรีนเมนู (Screen menu) จะเป็นกลุ่มคำสั่งต่างๆ ของ ออโตแคด ซึ่งจะอยู่ทางด้านขวามือของจอภาพ เราสามารถใช้คำสั่งนี้ได้โดยการเลือก pick  จากอุปกรณ์ชี้ (เมาส์)ของเรา ซึ่งจะเหมือนกับเราเลือกป้อนคำสั่งที่ต้องการทางคอมมานไลน์
4.      สเตตัสบาร์ (Status Bar) จะอยู่ในส่วนล่างสุดของหน้าจอ ซึ่งใช้ในการแสดงโคออร์ดิเนต สถานะของคำสั่งตัวช่วยต่างๆ
5.      UCS icon จะแสดงถึงระบบของโคออร์ดิเนต ของผู้ใช้ปัจจุบัน ซึ่งจะต้องมีปรากฎอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีผลใดๆ ต่อภาพของเรา
6.      เมนูบาร์ (menu bar)
7.      พูลดาวน์เมนู (Pull down menu)
8.      ซับ พูลดาวน์เมนู (Sub-pull down menu)
9.      สกรีนเมนู (Screen menu)
10.  ไอคอนเมนู (Icon menu)
11.  เคอร์เซอร์เมนู Cursor menu และ Popup menu
12.  แถบเครื่องมือหรือทูลบาร์(Toolbars)
          4.2  การตั้งขนาดกระดาษหรือขอบเขตของแบบ การตั้งหน่วยของแบบ ตำแหน่งของจุดในแบบ การปรับมุมมองแบบ
ในการเขียนแบบ ควรตั้งขนาดของกระดาษ หรือ ขอบเขตของแบบให้เหมาะกับขนาดกระดาษที่เราจะพิมพ์ หรือพล็อต การตั้งขอบเขตของกระดาษเขียนแบบให้ตั้งโคออร์ดิเนตมุมล่างซ้าย
เป็น   0.00,0.00 และตั้งโคออร์ดิเนตของมุมขวาบนเป็น   ขนาดของกระดาษที่เราต้องการ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับหน่วยที่ใช้ในการเขียนแบบ และการระบุตำแหน่งหรือ พิกัดในขณะเขียนแบบ
          การเขียนแบบด้วยโปรแกรม AutoCAD  ในบางครั้งเรามีความจำเป็นที่ต้องเขียนภาพโดยที่เรามองเห็นรายละเอียดไม่ชัดเจน ซึ่งภาพที่เรามองเห็นอาจเล็กเกินไป หรือมองภาพโดยรวมไม่ครบทั้งภาพ ซึ่งเราสามารถเลือกปรับมุมมองโดยการขยายหรือย่อให้ได้ภาพที่ดีและสะดวกในการเขียนแบบ โดยการย่อหรือขยายไม่ได้ทำให้ขนาดหรือเปลี่ยนแปลงไป

4.3  การเรียกใช้คำสั่งเดิม (Repeat Command) การแสดงและรับ
ค่าเดิม  (Default Values)
ในขณะที่เขียนแบบ ผู้ใช้งานจะต้องมีการโต้ตอบกับโปรแกรมอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้อนค่าให้กับวัตถุหรือ คำสั่ง ซึ่งเป็นการป้อนข้อมูล การป้อนตัวอักษร การป้อนมุม การป้อนระยะทาง เป็นต้น ส่วนการยกเลิกคำสั่งในขณะใช้งาน  การเรียกใช้คำสั่งเดิม จะช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น

          4.4  การจัดการระบบไฟล์การใช้คำสั่ง Save   , Save As… , QSAVE
เมื่อเราสร้างไฟล์แบบด้วยออโตแคด (AutoCAD )  ภาพที่เราเขียนจะถูกเก็บโดยมีนามสกุล เป็น .dwg  และหากเราเรากำหนดให้โปรแกรมทำการสร้างไฟล์สำรองทุกครั้งที่เราสร้างหรือเขียนแบบ ไฟล์สำรอง(backup) จะมีชื่อเดียวกับไฟล์ที่เราตั้งแต่จะมีนามสกุล .BAK   ในการตั้งชื่อควรให้สื่อความหมายถึงแบบงานที่เขียน ซึ่งเมื่อเราเห็นชื่อไฟล์ก็จะทราบได้ว่าเป็นแบบงานอะไร ของหน่วยงานไหน  และในการตั้งชื่อไฟล์ควรตั้งเป็นภาษาอังกฤษจะดีกว่าการตั้งชื่อเป็นภาษาไทยเพราะบางครั้งการตั้งเป็นภาษาไทยอาจะเกิดปัญหาในการเข้าถึงไฟล์

         
4.5  การใช้งานคำสั่งสำหรับเขียนรูปวัตถุพื้นฐาน แถบเครื่องมือ DRAW
                    แถบเครื่องสำหรับใช้สร้างรูปวัตถุพื้นฐานที่ใช้งานบ่อย คือ DRAW ซึ่งสามารถสร้างรูปวัตถุ อาทิ Line ,Construction Line ,Multiline , Polyline, Polygon ,Arc,Circle,Spline    ,Ellipse ,Ellipse Arc     ,Hatch และ Multiline text         
          4.6  การใช้งานคำสั่งสำหรับเขียนแก้ไข ปรับแต่ง แถบเครื่องมือ Modify
          แถบเครื่องสำหรับใช้แก้ไข ปรับปรุง วัตถุ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนแบบ ที่ใช้งานบ่อย คือ Modify  อาทิ Erase      ,Copy ,Mirror ,Offset ,Array  ,Move  ,Rotate ,Scale  ,Stretch,Trim   Extend ,Fillet   ,Chamfer และ          Explode        

          4.7 การใช้งานอินเตอร์เน็ตและสารสนเทศ
                   ในโลกของอินเตอร์เน็ต มีข้อมูลเกี่ยวกับ CAD จำนวนมากการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นจะต้องเรียนรู้การใช้งานที่ถูกต้อง อาทิ การค้นคว้าข้อมูลโดยใช้เครื่องมือค้นหา การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้น
          


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น