ปวส ภาษาไทย1
ประเด็นที่
๑ การใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีศิลปะและมีประสิทธิภาพ
๑.๑) ความหมายของการสื่อสาร
๑.๒)
ความสำคัญของการสื่อสาร
๑.๓)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
๑.๔)
ลักษณะของคำและประเภทของคำในภาษาไทย
๑.๕)
การใช้ภาษาไทยอย่างมีศิลปะ
๑.๖) ปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญ
ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารของคนไทย
ดังนั้นจึงควรใช้ภาษาไทยอย่างมีศิลปะ ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
โดยพิจารณาจากปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ข้อสอบ
(ประเด็นที่ ๑)
ข้อ ๑ - ๒
จงเลือกกลุ่มคำที่จะทำให้ข้อความที่กำหนดมีใจความสมบูรณ์ถูกต้องที่สุด
๑.
.........................ทางวิทยาการที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ คงจะเกิดขึ้นไม่ได้
ถ้าหากปราศจาก..................ระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ
(การนำไปใช้)
๑. ความคิดเห็น
การผสาน
๒.
ความก้าวหน้า ความร่วมมือ
๓. ความมีอิทธิพล ความขัดแย้ง
๔.
ความล้มเหลว การแข่งขัน
๕. ความชอบธรรม ความสมดุล
๒.
แม้ว่ารัฐบาลหลายประเทศได้พยายามปรับปรุง...........สตรีให้ดีขึ้นมาระดับหนึ่งก็ตาม
แต่ปัญหาด้าน
.................ทางโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
การงานของสตรียังมีอยู่ในทุกสังคม (การนำไปใช้)
๑. คุณภาพ ความแปรปรวน
๒.
เสถียรภาพ ความเท่าเทียม
๓. เสรีภาพ ความสูญเสีย
๔.
สถานภาพ ความไม่เสมอภาค
๕. เอกลักษณ์ ความคล่องตัว
๓.
ประโยคใดใช้ถ้อยคำสื่อความหมายได้ชัดเจนที่สุด (การนำไปใช้)
๑. พนักงานเดินตลาดอยู่ตรงนั้นเอง
๒.
เขาเป็นคนใช้ฉันไปทำงานตามคำสั่ง
๓.
วันนี้ฉันจะไปกินอาหารมื้อเย็นกับเธอ
๔.
ผมเพิ่งทาสีบ้านใหม่เมื่อเดือนก่อน
๕. เธอจะทำอะไรก็ทำเสีย ฉันไม่ว่าอะไรเธอหรอก
๔.
ข้อใดใช้ภาษาโน้มน้าวใจได้ดีที่สุด (การนำไปใช้, การวิเคราะห์)
๑. พลังงานมีจำกัด รู้ประหยัด
รู้ใช้
๒.
แค่บุหรี่มวนเดียว ยังเอาชนะมันไม่ได้
๓. มั่วเข็ม มั่วเพศ คงติดเอดส์ในไม่ช้า
๔.
โลหิตฉันมั่นใจ
ปลอดภัยแก่ผู้รับ
๕. สัมผัสธรรมชาติ กับความสดชื่นใหม่ในมิติ
๕.
ข้อใดใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะชัดเจนที่สุด (การวิเคราะห์, การนำไปใช้)
๑. โปรดดับไฟก่อนที่จะไม่มีไฟให้ดับ
๒.
เมืองไทยจะรุ่งเรือง พลเมืองมีวินัย
๓. ต้นไม้ควรรักษา หมั่นปลูกป่าเป็นประจำ
๔.
ใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อขจัดความเดือดร้อน
๕. โรงเรียนสดสวย ต้องช่วยกันรักษาความสะอาด
๖.
“ฉันชอบทำความดี” ข้อใดสนับสนุนข้อความข้างต้นได้สมเหตุสมผลที่สุด
(ความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การประเมินค่า)
๑. เพราะความดีทำได้ง่าย
๒.
เพราะความดีเป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ
๓. เพราะความดีทำให้เกิดความสบายใจ
๔.
เพราะความดีทำให้เป็นคนมีคุณค่า
๕. เพราะความดีทำให้ได้รับรางวัลตอบแทนที่คุ้มค่า
๗. ธรรมชาติของเด็กอยากแสดงออก๑ เด็กชอบวาดรูป๒ ดังนั้นพ่อแม่ ครูหรือผู้ปกครองจะต้องจัดอุปกรณ์
วาดรูปให้เด็กตั้งแต่เขายังเล็กมากๆ๓ และการได้วาดรูปร่วมกันจะกระตุ้นการแสดงออก
ปลุกความคิด
สร้างสรรค์ไร้ขอบเขต๔ เด็กจะเติบโตขึ้นมาอย่างมีความสุข๕
ข้อความหมายเลขใดเป็นใจความ (ความเข้าใจ,
การวิเคราะห์)
๑. หมายเลข ๑
๒. หมายเลข ๒
๓. หมายเลข ๓
๔. หมายเลข ๔
๕. หมายเลข ๕
๘. ในการโหวตเสียง ผู้แทนนักเรียน พิม ติดที่ ๒ นับว่าเจ๋งจริง
คำที่ขีดเส้นใต้ควรใช้คำในข้อใดแทนจึงจะถูกต้องเหมาะสม
(ความเข้าใจ, การวิเคราะห์)
๑. ออกเสียง.........มาเป็นที่ ๒...........ยอด
๒.
ลงคะแนน.......มาเป็นที่ ๒.......เลิศ
๓. ลงคะแนน........ได้ที่ ๒.................
เยี่ยม
๔.
ลงคะแนน.........ได้รางวัลที่ ๒........ดี
๕.
ออกเสียง.........ได้อันดับที่ ๒...........เก่ง
๙.
พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน ลูกดีใจราวกับ.....................
ควรเติมสำนวนใดลงในช่องว่างจึงจะถูกต้องเหมาะสม
(การนำไปใช้)
๑. ไก่ได้พลอย
๒. วานรได้แก้ว
๓. กิ้งก่าได้ทอง
๔. ปลากระดี่ได้น้ำ
๕. แมวไม่อยู่หนูร่าเริง
๑๐.
ข้อใดใช้ภาษาระดับทางการได้ถูกต้อง (การนำไปใช้)
๑. ธงชัยไปร่วมอวยพรในงานมงคลสมรสของพี่ชาย
๒.
นิภาโทรศัพท์คุยกับเมตตาทุกวัน
๓. ประภาพรไปร่วมงานเผาศพบิดาของเพื่อนที่วัดใหม่
๔.
สุชาติบ่นคิดถึงภรรยาของเขามาก
๕. ดร. ลินดาพูดเรื่อง “ปัญหาวัยรุ่น”
ที่หอประชุม
๑๑.
ข้อใดใช้ประโยคเหมาะสมกับบุคคล (ความเข้าใจ,
การนำไปใช้)
๑. ท่านครับ ใครก็ไม่รู้มาหา
๒. แม่จะใช้อะไรลูกก็ว่ามาเลยค่ะ
๓. โย่ง แกจะไปกับกันไหม
๔. คุณป้าคะทั้งหมดราคาเท่าไหร่กันล่ะ
๕. อาจารย์รู้ไหมว่าผมมีการบ้านเยอะแค่ไหน
๑๒.
ลวดลายงดงาม.......ปรากฏ.......ผ้าไหมมัดหมี่ถือเป็นศิลปะ.....งานทอผ้า
ควรใช้คำกลุ่มใดเติมลงในช่องว่างจึงจะถูกต้องเหมาะสม (ความเข้าใจ)
๑. ที่ บน ใน
๒. ควร บน ของ
๓. ซึ่ง ณ แห่ง
๔. ที่ ใน ของ
๕. อื่น ใน อัน
๑๓. ประโยคในข้อใดใช้สำนวนไม่ถูกต้อง (การวิเคราะห์)
๑. ผมกลัวเขาอยู่เหมือนกัน แต่ทำใจดีสู้เสือ
๒.
เขาเป็นคนขวานผ่าซากชอบพูดจาว่าคนอื่นอยู่เรื่อย
๓.
เขาเก็บความรู้สึกได้ดีประเภทน้ำขุ่นอยู่ในน้ำใสอยู่นอก
๔.
เขาเขียนบทความยาวสามหน้า แต่น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
๕.
เขาไม่มีพวกพ้องให้พึ่งพาอาศัย เป็นคนหัวเดียวกระเทียมลีบ
๑๔. ข้อความต่อไปนี้มีข้อบกพร่องในเรื่องใด “ห้ามไม่ให้นักข่าวและตากล้องเข้าไปทำข่าวและถ่ายรูป
ในงานพิธีโดยไม่ได้รับอนุญาต” (การวิเคราะห์)
๑. ใช้ภาษาพูด
๒. ความหมายไม่ชัดเจน
๓. ใจความวกวน
๔. ใช้คำซ้ำซ้อน
๕. ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ
๑๕.
ข้อความใดใช้ภาษาเป็นเหตุเป็นผลกัน (การประเมินค่า)
๑. ทั้ง ๆ
ที่เธอทุ่มเทอย่างมากให้กับการอ่านหนังสือ
เธอก็ยังสอบไม่ผ่าน
๒. ทั้ง ๆ ที่
เธอยังทุ่มเทให้กับการอ่านหนังสืออย่างมาก
เธอก็คงสอบไม่ผ่าน
๓. ทั้ง ๆ ที่เธอสอบไม่ผ่าน เธอก็ยังทุ่มเทให้กับการอ่านหนังสืออย่างมาก
๔. ทั้ง ๆ ที่เธอคงสอบไม่ผ่าน เธอก็ยังทุ่มเทให้กับการอ่านหนังสือ
๕. ทั้ง ๆ ที่เธอสอบไม่ผ่าน เธอก็ยังคงอ่านหนังสืออย่างทุ่มเทมาก
๑๖
ข้อความในข้อใดสมเหตุสมผลที่สุด
(การประเมินค่า)
๑. สำนวนอดเปรี้ยวไว้กินหวานกับหวานเป็นลมขมเป็นยาเหมือนกัน
เพราะเป็นสำนวนเกี่ยวกับรสทั้งสองสำนวน
๒. การออกกำลังกายเป็นประจำทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่แก่
๓. นักร้องคนนั้นจะต้องมีชื่อเสียงโด่งดังตลอดไป เพราะได้รับรางวัลมาแล้วสามครั้ง
๔.
การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อสร้างเขื่อนเป็นการทำลายธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง
๕. ขอให้ท่านทั้งหลายพยายามทำความดีต่อไป เพราะธรรมะย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม
๑๗. ข้อความใดใช้สำนวนได้ถูกต้อง (การวิเคราะห์,
การนำไปใช้)
๑. ผมยอมรับว่าผมมีปัญญาแค่หางอึ่ง
๒. หนังสือเล่มนี้ฉันอ่านอย่างวางมือไม่ลงทีเดียว
๓. ทางที่นำไปสู่ความสำเร็จบางครั้งไม่ได้ปูลาดด้วยดอกกุหลาบ
๔.
เขามีบ้านอยู่ชายทะเลแต่แปลกที่เขาว่ายน้ำไม่เป็น ทั้งที่คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล
๕. เขาเป็นคนไว้ใจไม่ได้มีเล่ห์เหลี่ยมมากเหมือนทำนาบนหลังคน
๑๘. ประโยคในข้อใดใช้สำนวนไม่เหมาะสม (การวิเคราะห์, การสังเคราะห์)
๑.
ผมกลัวเขาอยู่เหมือนกัน แต่ทำใจดีสู้เสือ
๒. เขาเขียนบทความยาวสามหน้า
แต่น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
๓. เขาเป็นคนขวานผ่าซากชอบพูดจาว่าคนอื่นอยู่เรื่อย
๔. เขาไม่มีพวกพ้องให้พึ่งพาอาศัย
เป็นคนหัวเดียวกระเทียมลีบ
๕.
เขาเก็บความรู้สึกได้ดีประเภทน้ำขุ่นอยู่ในน้ำใสอยู่นอก
๑๙. อาจารย์สุรศักดิ์มีความสามารถ
ในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี แต่ไม่แสดงออก (การนำไปใช้)
เหตุการณ์นี้ ตรงกับสำนวนใด
๑. น้ำนิ่งไหลลึก
๒. เพชรในตม
๓. ไก่ได้พลอย
๔. ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
๕. คมในฝัก
๒๐.
ข้อใดใช้สำนวนถูกต้อง (การวิเคราะห์)
๑. เด็กสองนี้เข้ากันได้ดี เป็นบ้าเป็นหลัง
๒. พี่น้องฟ้องร้องกัน เป็นการหยิกเล็บเจ็บเนื้อ
๓.
ฉันไม่อยากเป็นปลาติดร่างแห รับเคราะห์แทนผู้อื่น
๔. เขาเห็นเราเป็นหัวล้านนอกครูไปได้ ทำอะไรไม่ดีไปทุกเรื่อง
๕. เขาชอบหมักหมมงานไว้เหมือนกิ้งก่าได้ทอง
ประเด็น
๒ การวิเคราะห์และประเมินค่าสารจากการฟัง การดู และการอ่าน
๒.๑)
ความหมายของการฟัง การดูและการอ่าน
๒.๒)
จุดมุ่งหมายของการฟัง การดูและการอ่าน
๒.๓)
ประเภทของการฟัง การดูและการอ่าน
๒.๔)
ประโยชน์ของการฟัง การดูและการอ่าน
๒.๕)
มารยาทในการฟังและการดู
๒.๖)
การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๗) หลักการวิเคราะห์และประเมินค่า
สาระสำคัญ
การวิเคราะห์และประเมินค่าสาร
หมายถึง การแยกออกเป็นส่วนๆ โดยการใคร่ครวญ ไตร่ตรองและหาเหตุผลเพื่อพิจารณาประเมินค่าของสาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟัง การดูและการอ่าน
จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้รับสารต้องวิเคราะห์และใช้วิจารณญาณด้วยความระมัดระวัง
เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร
การเลือกรับข่าวสารที่ดีจะทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
โดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อสอบ
(ประเด็นที่ ๒)
๒๑.
ข้อใดเป็นความหมายของการวิเคราะห์สารที่ถูกต้องที่สุด (ความรู้-ความจำ)
๑. การรวมหรือการสร้างสารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
๒. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาร
๓. การแยกเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ โดยใคร่ครวญและไตร่ตรอง
๔. การพิจารณาสารเพื่อหาข้อเท็จจริง ข้อความแสดงอารมณ์และความรู้สึก
๕. การนำความคิดและความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
๒๒. ข้อใดไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์สาร (ความรู้-ความเข้าใจ)
๑.
นบอ่านข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ภาคใต้จากหนังสือพิมพ์
๒. นัทคิดรายการอาหารสำหรับคุณยาย
๓. เน็ตดูโฆษณาผงซักฟอก
๔. แหน๋
ซื้อสลากกาชาด ๓ ใบ
๕. นุดีซื้อยาแก้ไอให้ลูกสาวอายุ
๒ ขวบ
๒๓. ข้อใดเป็นการฟังเพื่อความจรรโลงใจ (ความเข้าใจ)
๑. การฟังข่าว
๒. การฟังเทศน์
๓. การฟังบรรยาย
๔. การฟังเพลง
๕. การปาฐกถา
๒๔. ในปัจจุบันสารประเภทใด มีอิทธิพลต่อผู้ดูมากที่สุด (การวิเคราะห์)
๑. ภาพและป้ายโฆษณา
๒. โทรศัพท์
๓. นิตยสาร
วารสาร
๔. คอมพิวเตอร์
๕. วิทยุ
โทรทัศน์
คำชี้แจง จากข้อความดังกล่าว จงตอบคำถาม ข้อ ๒๕-๒๙
“ปีนี้คนกรุงแห่ลอยกระทงกันเยอะขึ้น
เจ้าหน้าที่กทม. ระดมเก็บซากกระทงจากแม่น้ำเจ้าพระยาและคูคลองต่างๆ
ในเขตกรุงเทพมหานครได้กว่า ๔ แสนใบ และที่น่าดีใจอย่างยิ่งก็คือพบกระทงที่ใช้วัสดุโฟมมีปริมาณลดลงมาก”
๒๕.
เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับงานนี้โดยตรงควรเป็นใคร (การวิเคราะห์)
๑. พนักงานกวาดขยะ
๒.
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
๓. พนักงานเก็บขยะ
๔. พนักงานประตูระบายน้ำ
๕. เทศกิจ
๒๖. ลักษณะนามของกระทงคือข้อใด (ความรู้,
ความเข้าใจ)
๑. ใบ
๒. อัน
๓. ลำ
๔. กระทง
๕. จอก
๒๗. สิ่งใดที่มีปริมาณลดลง (การวิเคราะห์)
๑. ขยะ
๒. กระทงโฟม
๓. คนลอยกระทง
๔. จำนวนกระทง
๕. ลำคลอง
๒๘. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในจังหวัดใด (ความรู้-ความจำ)
๑. อยุธยา
๒. เชียงใหม่
๓. กรุงเทพ ฯ
๔. นครสวรรค์
๕. บุรีรัมย์
๒๙. ข้อความนี้จะพบในหนังสือประเภทใด (การวิเคราะห์)
๑. หนังสือเรียน
๒. หนังสือพิมพ์
๓. หนังสือสารคดี
๔. หนังสือแนะนำการท่องเที่ยว
๕. วารสารเผยแพร่
๓๐. ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการฟัง (ความรู้-ความจำ,
การนำไปใช้)
๑. สนใจและจดบันทึกการฟัง
๒. มีคำถามบ้างในบางโอกาส
๓. แต่งกายให้ถูกกาลเทศะ
๔. ไม่ลุกเดินเข้า – ออกบ่อย ๆ
๕. ทานอาหารที่ชอบอย่างระมัดระวัง
๓๑. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการฟัง การดูและการอ่าน (ความรู้-ความจำ)
๑. เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจ
๒. เพื่อให้ทันเหตุการณ์
๓. เพื่อให้นำมาปรับปรุงใช้ในชีวิตประจำวัน
๔. เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างในสื่อได้
๕. เพื่อรับทราบข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
๓๒.
ถ้าต้องการซื้อขนมอบกรอบควรพิจารณาสิ่งใดเป็นสำคัญ (การวิเคราะห์)
๑. ยี่ห้อ
และวันหมดอายุ
๒. ส่วนประกอบ
และวันหมดอายุ
๓. วันที่ผลิต
และราคา
๔. ผู้ผลิต
และวันจำหน่าย
๕. วันหมดอายุ และบรรจุภัณฑ์
๓๓. การรับสารประเภทใด จำเป็นต้องวิเคราะห์และวินิจสารให้มากที่สุด (การวิเคราะห์)
๑. โฆษณา
๒. บทเพลง
๓. ประกาศ
๔. ภาพเขียน
๕. ประชาสัมพันธ์
คำชี้แจง จงอ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ ๓๔ -๓๕

๓๔. แนวคิดสำคัญของข้อความนี้คือข้อใด
(การวิเคราะห์, สังเคราะห์)
๑. ซื้อของเก็บไว้ทำให้สูญเงิน
๒. สะสมสิ่งของต่าง ๆไว้เป็นความสูญเปล่า
๓.
มีของเก็บไว้แต่ไม่ใช้เป็นความสิ้นเปลือง
๔. มีของเก็บไว้แต่ไม่ใช้ไม่เป็นการสะสมเงิน
๕. ควรรู้จักการเก็บออมอย่างถูกวิธี
๓๕. เจตนาของผู้เขียนคือข้อใด (การนำไปใช้,
การวิเคราะห์)
๑.
ขอให้หยุดซื้อสิ่งของเครื่องใช้ที่ไม่จำเป็น
๒. ขอให้หยุดสะสมสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน
๓. ขอให้นำสิ่งของต่างๆ
ออกใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๔. ขอให้นำสิ่งของต่างๆ ที่ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
๕. ขอให้ใช้พลังงานอย่างประหยัด
๓๖. การอ่านโดยพิจารณาส่วนต่างๆ อย่างใคร่ครวญ ไตร่ตรองและพินิจพิจารณา
ถือเป็นการอ่านในระดับใด (ความรู้-ความจำ) ๑. อ่านเอาเรื่อง ๒. อ่านวิเคราะห์ ๓. อ่านตีความ ๔. อ่านประเมินค่า ๕.
การอ่านสังเคราะห์
๓๗. “คืนนี้เราเจ็บและเหน็บหนาว ท่ามกลางดาวพราวฟ้าใส
แต่มืดหม่นมืดมัวเต็มหัวใจ ใครจะสานสายใยในความรัก
เราฝันถึงวันพรุ่งวันรุ้งสวย ที่จะก้าวเดินด้วยความแน่นหนัก
เบื้องหน้าฟ้าสีทองผุดผ่องนัก เราจะวักทุกน้ำสายธารน้อย”
คำประพันธ์ข้างต้นนี้แสดงเจตนาของผู้เขียนตรงกับข้อใด (การวิเคราะห์)
๑.
เรียกร้องความเป็นธรรม
๒.
พูดถึงคนอกหักและวิธีแก้ปัญหา
๓. ระบายความทุกข์และความสิ้นหวัง
๔. ระบายความอัดอั้นตันใจ
๕. ให้กำลังใจและให้ความหวัง
๓๘. การอ่านข้อความในข้อใดเป็นการอ่านเพื่อพัฒนาตนเองในด้านอารมณ์
(การนำไปใช้, การวิเคราะห์) ๑. ดอกอัญชันใช้กลีบสีน้ำเงินขยี้ให้ช้ำ
เติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง ทำขนมชั้น ซ่าหริ่ม ถั่วแปบ ๒.
สงครามครั้งนี้คงไม่มีผลกระทบต่อการจัดหาขนส่งน้ำมันและราคาอย่างรุนแรง
๓. ภาคพื้นพนารัญ จรแสนสราญรมย์
เนินราบสลับสม
พิศเพลินเจริญใจ ๔.
ดูความคิด ก็คือดูใจนั่นเอง ดูความคิดเห็นว่าคิดดีหรือคิดไม่ดี ก็คือดูใจ
เห็นว่าใจดีหรือใจไม่ดี ใจร้อนหรือใจเย็น ใจเป็นสุขหรือใจเป็นทุกข์ ๕. ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ผไทของไทยทุกส่วน
๓๙. ข้อใดมีความหมายกำกวมจะให้มีความหมายอย่างไรแน่ขึ้นอยู่กับการเน้นคำไหนและแบ่งคำอย่างไร (การนำไปใช้, การวิเคราะห์)
๑.
วิภาทำเสียหมดแล้ว
หนูเลยไม่มีอะไรจะทำ
๒. ลูกเธอไม่เคยอยู่นิ่งเลย
๓. สงครามทำให้เสียคนไปมาก
๔. เดินเข้าไปเถอะ ไม่ช้าก็ถึงทางอก
๕. ใครอยากไปเที่ยวเขาพนมรุ้งบ้าง
๔๐. ข้อใดเว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง (การประเมินค่า)
๑. อาจารย์วิจารณ์/ว่าหนังสือนี้มีคุณค่าควรแก่การอ่าน/หาความรู้และความเพลิดเพลิน
๒.
อาจารย์วิจารณ์ว่าหนังสือนี้/มีคุณค่าควรแก่การอ่าน/หาความรู้และความเพลิดเพลิน
๓.
อาจารย์วิจารณ์ว่า/หนังสือนี้มีคุณค่าควรแก่การอ่าน/หาความรู้และความเพลิดเพลิน
๔. อาจารย์วิจารณ์/ว่าหนังสือนี้มีคุณค่า/ควรแก่การอ่านหาความรู้/และความเพลิดเพลิน
๕. อาจารย์วิจารณ์ว่า/หนังสือนี้มีคุณค่าควรแก่การอ่านหาความรู้และความเพลิดเพลิน
ประเด็นที่
๓ การนำเสนอข้อมูล
๓.๑)
ความหมายของการนำเสนอข้อมูล
๓.๒)
ความสำคัญของการนำเสนอข้อมูล
๓.๓)
จุดมุ่งหมายของการนำเสนอข้อมูล
๓.๔)
องค์ประกอบของการนำเสนอข้อมูล
๓.๕)
รูปแบบการนำเสนอข้อมูล
๓.๖) การเตรียมการนำเสนอข้อมูล
สาระสำคัญ
การนำเสนอข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่บุคคลในแวดวงอาชีพต่างๆ
จำเป็นต้องใช้เพื่อนำเสนอความรู้ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
และวิจารณ์อย่างมีเหตุผลเพราะสังคมทุกวันนี้ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะแสดงข้อมูลต่างๆ
เพื่อให้สมาชิกและบุคคลอื่นได้รับทราบ
ข้อสอบ
(ประเด็นที่ ๓)
๔๑. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการอ่านที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมากที่สุด (ความเข้าใจ)
๑. เพื่อหาความรู้
๒. เพื่อหาทรรศนะ
๓. เพื่อความบันเทิง
๔. เพื่อหาประสบการณ์
๕. เพื่อหาความคิดที่แปลกใหม่
๔๒. เหตุใดจึงกล่าวว่า
“การอ่านช่วยตัดสินปัญหาในชีวิตประจำวันได้” (การวิเคราะห์)
๑. การอ่านเป็นทักษะหนึ่งของการใช้ภาษา
๒. การอ่านทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น
๓. การอ่านช่วยให้เราได้มีความรู้มากมีเจตคติที่ดี
๔. ในชีวิตประจำวันเราต้องพบกับตัวอักษรอยู่เสมอๆ
๕. เป็นพฤติกรรมในการดำรงชีวิตของคนไทย
๔๓. การอ่านหนังสือประเภทใดที่พัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้และคุณธรรม (การประเมินค่า)
๑.ตำรา
๒.สารคดี
๓.ชีวประวัติ
๔.หนังสือพิมพ์
๕.หนังสือวารสาร
๔๔. สิ่งที่สำคัญในการพิจารณาคุณค่าของข้อมูลคือข้อใด (การประเมินค่า)
๑. ผู้แต่ง ผู้พิมพ์
ปีที่พิมพ์
๒.
ข้อเสนอแนะและข้อสรุป
๓.
เนื้อหาสาระและวิธีการนำเสนอ
๔. ลักษณะรูปเล่มและคุณภาพของการจัดหน้า
๕. ส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือ
เช่น สารบัญ ดรรชนี เป็นต้น
๔๕. การที่มีความรู้ทันโลกทันเหตุการณ์
ก่อให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างไร (ความเข้าใจ)
๑. เชื่อมั่นในตนเองสูง
๒. รู้จักละอายต่อความชั่ว
๓. เข้าใจธรรมชาติของคน
๔. ปรับตัวเข้ากับสังคมได้
๕. เข้าใจชีวิตและอนาคต
๔๖. การนำเสนอข้อมูลมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
(ความเข้าใจ)
๑. สรุปและวิจารณ์
๒. คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป
๓. ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น
๔. เนื้อเรื่อง รายละเอียด
๕. ข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะ
๔๗. การอ่านสารประเภทใดที่ต้องใช้ความรอบคอบเป็นพิเศษ (การนำไปใช้)
๑. ข่าว
๒. คำสั่ง
๓. สัญญา
๔. โฆษณา
๕. บทความ
๔๘. ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง (การวิเคราะห์)
๑. เดือนหน้าอากาศร้อนมาก
๒. ตึกหลังนี้สร้างเมือปี ๒๕๒๕
๓. อาชีพที่รวยที่สุดคือนักธุรกิจ
๔. ดารานักแสดงส่วนมากหน้าตาดี
๕. เศรษฐกิจในปัจจุบันไม่พึงปรารถนา
๔๙. ถ้าต้องการรู้เหตุการณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ควรเลือกอ่านสารประเภทใด (การนำไปใช้)
๑. ข่าว
๒. สารคดี
๓. บันทึก
๔. วารสาร
๕. บทวิจารณ์
๕๐. ข้อมูลในข้อใดเป็นสารที่แสดงข้อเท็จจริง (การวิเคราะห์)
๑. ความขมเป็นรสของชีวิตอย่างหนึ่งที่ต้องยอมรับ
โดยทำให้รสขมนั้นเป็นคุณ
๒.
เด็กเล็กๆไม่คลาดสายตาผู้ใหญ่น่าจะช่วยให้ผู้ใหญ่รู้สึกว่าตนมีงานทำมีหน้าที่
๓. การอยู่ร่วมกันมากคนในครอบครัวใหญ่มีทั้งผลดีและผลเสียโดยเฉพาะกับเด็ก
๔. ผู้ใหญ่มักเป็นต่อการทำให้บ้านอบอุ่นจนร้อน
เด็กไม่ใช่ต่อการแต่เป็นโดยทางอ้อม
๕. เด็กอาจเป็นต้นเหตุให้ผู้ใหญ่ผิดใจกันและในทางกลับกันก็อาจเป็นกาวใจให้ผู้ใหญ่คืนดีกัน
๕๑.ข้อใดใช้ภาษาเพื่อแสดงความคิดเห็น (การนำไปใช้)
๑. ดื่มกาแฟแล้วสดชื่น
หูตาสว่าง มีกำลังวังชา
๒. รัฐบาลแถลงว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันเริ่มดีขึ้นเป็นสำคัญ
๓. คุณภาพชีวิตที่ดีย่อมเกิดขึ้นได้หากประชาชนร่วมใจกันพัฒนาสิ่งแวดล้อม
๔. ราคาผลผลิตตกต่ำและน้ำมันขึ้นราคาเป็นผลกระทบมาจากปัจจัยภายนอก
๕. เราเรียนรู้จากอดีตว่าการกินดีอยู่ดีของประชาชนขึ้นอยู่กับเสถียรภาพของรัฐบาล
๕๒.ข้อใดเป็นการใช้ภาษาที่เป็นการแสดงความคิดเห็น (การวิเคราะห์)
๑. การศึกษางานสร้างสรรค์ช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางวัฒนธรรม
๒. หากเก็บเวลาไว้ในขวดได้
ทุกคนก็อยากเก็บเวลาอื่นเต็มไปด้วยกันไว้
๓.
รัฐน่าจะกระจายอำนาจลงสู่ระดับตำบลได้โดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแล
๔. ข้าราชการพลเรือนการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ลงโทษสถานหนัก
๕. มนุษย์กลัวความแก่เพราะไม่ใช่แค่มีอายุมากขึ้น
แต่ความแก่เป็นโรคอย่างหนึ่ง
๕๓.
“ทุกคนล้วนมีประสบการณ์อันเป็นบทเรียนให้รู้ว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ อะไรทำแล้วถูก
อะไรที่ทำให้พลาด อะไรที่ดี อะไรที่เลว
สิ่งใดที่ทำให้ทุกข์และสิ่งใดที่ทำให้มีความสุข ประสบการณ์ทั้งนั้นที่สอนเรา
ชีวิตคนอื่นสอนชีวิตเรา ชีวิตเราเองสอนชีวิตตัวเอง
ชีวิตเราเองก็เป็นบทเรียนแก่ชีวิตอื่นเช่นกัน และจะเป็นเช่นนี้จวบจนวันตาย”
ข้อความนี้เป็นข้อมูลเชิงใด (การสังเคราะห์)
๑. แสดงค่านิยม
๒. ให้ข้อเสนอแนะ
๓.
ข้อมูลเชิงวิจารณ์
๔.
แสดงข้อเท็จจริง
๕. แสดงความคิดเห็น
๕๔.นักศึกษารุ่นพี่ได้พูดคุยกันน้องใหม่ถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
“กว่าจะเข้ามาได้...ใช่...มันยาก เรียนให้จบนั้นลำบากยากยิ่งกว่า
ในสนามความถวิลปริญญา อย่าลืมว่าในที่นั้นมีรีไทร์”
ข้อความข้างต้นแสดงทรรศนะอย่างไร
(การวิเคราะห์)
๑. ทรรศนะเชิงคุณค่า
๒. ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริง
๓. ทรรศนะเชิงคุณค่าและข้อเท็จจริง
๔. ทรรศนะเชิงคุณค่าและเชิงวิจารณ์
๕. ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะ
๕๕.ข้อใดคือลักษณะของการนำเสนอที่ดี (ความเข้าใจ)
๑. ผู้นำเสนอมีความรู้พอสมควร
๒. ผู้นำเสนอมีบุคลิกภาพที่ดี
๓. ผู้นำเสนอมีเทคนิคและวิธีนำเสนอที่น่าสนใจ
๔. ผู้นำเสนอมีวัสดุอุปกรณ์มากมาย
๕. ผู้นำเสนอมีข้อมูลมากพอควร
ประเด็นที่
๔ การพูดในงานอาชีพและในโอกาสต่างๆ ทางสังคม
๔.๑) ความหมายของการพูด
๔.๒) ความสำคัญของการพูด
๔.๓) ประเภทของการพูด
๔.๔) มารยาทในการพูด
๔.๕) หลักการทั่วไปของการพูด
สาระสำคัญ
การพูดเป็นวิธีการสื่อความหมายที่ทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
การพูดในงานอาชีพและการพูดในโอกาสต่างๆ ถือเป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่งซึ่งการพูดที่ดีและสร้างสรรค์ย่อมทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงานและในชีวิต
ดังนั้นจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพูดประเภทต่างๆ
เพื่อให้สามารถพูดในโอกาสต่างๆและในงานอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อสอบ
(ประเด็นที่ ๔)
๕๖. การพูดเป็น “ศาสตร์”
คำกล่าวนี้หมายความว่าอย่างไร (ความรู้-ความจำ)
๑. เป็นศิลปะเฉพาะตัว
๒.
มีหลักเกณฑ์ในการสอนและฝึกได้
๓. เป็นความสามารถพิเศษ
๔.
เป็นศาสตร์เฉพาะตัว
๕. เป็นความพยายามเฉพาะบุคคล
๕๗. ความสำคัญของการพูดในข้อใดสำคัญมากที่สุด
(ความเข้าใจ)
๑. เป็นเครื่องมือสื่อสารในการดำเนินชีวิต
๒. เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
๓. เป็นเครื่องมือสื่อสารในงานอาชีพ
๔. เป็นเป็นเครื่องมือในการสร้างความบันเทิง
๕. เป็นเครื่องมือในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
๕๘.
การพูดในข้อใดถือว่าเป็นภัยร้ายแรงที่สุด
(ความเข้าใจ, การวิเคราะห์)
๑. พูดหยาบคาย
๒. พูดมาก
๓. พูดส่อเสียด
๔.
พูดฟั่นเฝือ
๕. พูดตลก
๕๙. ถ้อยคำประกอบการทักทายในข้อใดที่ถูกต้องที่สุด (ความเข้าใจ, การนำไปใช้)
๑. จะไปไหนเนี่ย
ทำไมเดินจ้ำราวกับควายหายอย่างนั้นละครับ
๒. แต่งตัวทะมัดทะแมง
จะไปวิ่งออกกำลังกายหรือครับ
๓. ไม่ได้เจอกันตั้งนาน โอ้โฮ ดูคุณอ้วนท้วนสมบูรณ์ขึ้นมากเลยนะครับ
๔. เดินเล่นตอนเช้าหรือครับ
คนว่างงานก็ดีอย่างนี้แหละ มีโอกาสรักษาสุขภาพ
๕. ซ้อมเดินการกุศลหรือครับ
จะไม่ให้โอกาสคนอื่นเขาคว้ารางวัลบ้างเลยหรือครับ
๖๐. คำพูดในข้อใดบกพร่องเรื่องระดับของภาษา (ความรู้, ความเข้าใจ)
๑. เมียดีย่อมเป็นที่รักของสามี
๒. ผู้ชายกับผู้หญิงเป็นสิ่งคู่กัน
๓. บุตรย่อมเป็นที่รักของบิดามารดา
๔. สุภาพบุรุษและสภาพสตรีกรุณานั่งลง
๕. อาจารย์ครับ ผมขออนุญาตไปปัสสาวะครับ
๖๑. คำพูดใดที่ใช้คำเปรียบเทียบไม่เหมาะสม
(ความรู้, ความเข้าใจ)
๑. เขาโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ
๒. เขากินจุเหมือนยัดทะนาน
๓. เขาเกลียดฉันเข้ากระดูกดำ
๔. เขาเสียใจอย่างแรงกล้า
๕. เธอสวยเหมือนนางงาม
๖๒. การพูดจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อปฏิบัติตามข้อใด (ความรู้,
ความเข้าใจ, การนำไปใช้)
๑. จงสบสายตากับผู้ฟัง
๒. จงพูดเรื่องที่รู้ดีที่สุด
๓. จงเตรียมตัวให้พร้อม
๔. จงสร้างความเชื่อมั่น
๕. จงมีมารยาทในการพูด
๖๓. พฤติกรรมของบุคคลในข้อใดจัดได้ว่าเป็นคู่สนทนาที่ดีและมีมารยาท
(ความรู้, การนำไปใช้)
๑. เป้พยายามไม่สบตากับแพนเค้กเพื่อรักษามารยาท
๒. ณเดชจ้องมองแอนตลอดเวลา
แสดงความใส่ใจในทุกคำพูดอย่างจริงจัง
๓. ครูทีเด็ดแสดงสีหน้าเมื่อสงสัยและถามขึ้นมาทันทีโดยไม่รอให้ผู้อำนวยการพูดจบ
๔. ขณะที่ก้อยพูด
ตูนสบตาเธอเป็นระยะๆ และเสริมหรือโต้แย้งบ้างตามโอกาสอันควร
๕. นิชคุณกวาดสายตาไปมาพร้อมกับจ้องหน้าและทักท้วงขึ้นมาทันทีเมื่อไม่เห็นด้วยกับโอปอ
๖๔. ถ้าคุณได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง
วัยรุ่นกับยาเสพติด ควรใช้วิธีการพูดแบบใด
(ความรู้, ความเข้าใจ)
๑.
พูดโดยฉับพลัน
๒. การพูดโดยวิธีท่องจำ
๓.
การพูดโดยอาศัยต้นร่าง
๔.
การพูดโดยวิธีอ่านจากหนังสือ
๕.
การพูดในโอกาสต่าง ๆ
๖๕. ข้อความใดเป็นคำพูดที่กระชับและได้ใจความชัดเจนที่สุด
(ความรู้, การวิเคราะห์)
๑. ต่อไปนี้
ขอเชิญฟังคำบรรยาย เรื่อง เศรษฐกิจก้าวไกลในปี ๒๐๑๒ ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒. ต่อไปนี้
จะเป็นการบรรยาย เรื่อง เศรษฐกิจก้าวไกลในปี ๒๐๑๒ ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญรับฟังได้
๓. ลำดับต่อไปนี้
ขอเชิญฟังคำบรรยายของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง เศรษฐกิจก้าวไกลในปี ๒๐๑๒
๔. ลำดับต่อไปนี้ เป็นการบรรยายของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง เศรษฐกิจก้าวไกลในปี ๒๐๑๒ ขอเชิญรับฟังได้
๕. ในโอกาสอันดีนี้ เชิญฟังคำบรรยาย เรื่อง เศรษฐกิจก้าวไกลในปี ๒๐๑๒ ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๖๖. ข้อใดสำคัญที่สุดในการทำหน้าที่พิธีกร (ความรู้, ความเข้าใจ,
การนำไปใช้)
๑.
มีลีลาการพูดดี ออกเสียงได้ถูกต้องชัดเจน
๒. มีปฏิภาณไหวพริบดี
๓. มีบุคลิกภาพดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
๔. มีอารมณ์ขัน ขยันสร้างเสียงหัวเราะ
๕.
ใช้ภาษากึ่งแบบแผนหรือค่อนข้างเป็นแบบแผนในการพูด
๖๗. ถ้าพิธีกรเชิญท่าน
ซึ่งเป็นเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวพูด ท่านควรพูดถึงเรื่องใด
(ความรู้, ความเข้าใจ, การนำไปใช้)
๑. ความดีใจที่ได้แต่งงาน
๒. ความรู้สึกในขณะนั้น
๓. กล่าวขอบคุณผู้มาร่วมงาน
๔. แผนการดำเนินชีวิตหลังแต่งงาน
๕.
กล่าวถึงสิ่งที่ทำให้รักกันจนทำให้ได้แต่งงานกัน
๖๘. การโฆษณาขาย “กางเกงยีนส์” ให้แก่นักศึกษา ควรใช้คำพูดในข้อใดจึงจะเหมาะสมที่สุด
(ความรู้, ความเข้าใจ, การนำไปใช้)
๑. แนบสนิท
ถึงใจ สวมใส่สบาย
๒. ใส่สบาย
ไปได้ทุกที่ มีรสนิยม
๓. เท่
ทนทาน มีสไตล์ จริงใจ
วัยโจ๋
๔. สวมกระชับ
จับใจ ไร้กังวล
๕. ราคาเยา
คุณภาพเยี่ยม ไม่ยับง่าย
๖๙. ถ้าคุณเป็นผู้ขาย คุณคิดว่าคำพูดใดทำให้ขายสินค้าไม่ได้
(ความรู้, ความเข้าใจ, การวิเคราะห์,
การนำไปใช้)
ผู้ซื้อ :
สวัสดีค่ะ บริษัทของคุณมีโทรศัพท์มือถือที่มีคุณภาพสูง ราคายุติธรรมมั้ยคะ
ผู้ขาย
:
มีครับ รุ่นใหม่ กำลังเป็นที่นิยมของตลาด ราคาเริ่มต้นที่ ๒๒,๕๙๙
บาท สนใจมั้ยครับ
ผู้ซื้อ :
โอ้โฮ
ทำไมราคาสูงจังเลยคะ
ผู้ขาย
: ไม่สูงหรอกครับ
มีคุณลักษณะพิเศษมากมาย เช่น ถ่ายวิดีโอ ถ่ายรูป ฟังเพลง เล่นเกม
และเล่นอินเทอร์เน็ตได้
ผู้ซื้อ
: ดิฉันว่าราคาก็สูงอยู่ดีนะคะ
ผู้ขาย
:
...................................................
๑. คุณจะผ่อนก็ได้นะครับ
๒. แต่เรามีบริการหลังการขายนะครับ
๓. มีของสมนาคุณให้ลูกค้าด้วยนะครับ
๔. เรามีศูนย์ซ่อมมากมายและใช้อะไหล่แท้นะครับคุณ
๕. สินค้าดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐานระดับโลกนะครับ
๗๐. โอกาสใดควรพูดโดยใช้วิธีอ่านจากร่าง
(ความรู้, ความเข้าใจ, การนำไปใช้)
๑. การรายงานหน้าชั้นเรียน
๒. การกล่าวเปิดงานกีฬาสี
๓. การพูดในโอกาสเป็นพิธีกร
๔. การกล่าวอวยพรวันเกิดเพื่อน
๕. การอบรมผู้เรียนในกิจกรรมหน้าเสาธง
๗๑.
โอกาสใดที่ควรพูดกล่าวไว้อาลัย (ความรู้, ความเข้าใจ, การนำไปใช้)
๑. ประสบอุบัติเหตุ
๒.
ถูกเจ้านายไล่ออก
๓. เจ็บป่วย
๔. ย้ายงาน
๕. เพื่อนแท้งลูก
๗๒. ข้อความใดที่ผู้เข้ารับตำแหน่งใหม่ไม่ควรกล่าว
(ความรู้, ความเข้าใจ, การนำไปใช้)
๑.
ผมได้ยินมาว่าวิทยาลัยแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมานานแล้ว
๒. ผมมีความเข้าใจในการพัฒนาจังหวัด ผมจะรับผิดชอบให้ดีที่สุด
๓. ผมมั่นใจว่ามีความรู้
ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย
๔. ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับผู้ที่มีความสามารถ
๕.
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านคงจะให้ความร่วมมือในการพัฒนาหน่วยงานของเราต่อไป
๗๓. เมื่อเพื่อนร่วมงานได้เลื่อนขั้นเงินเดือนเพราะทำความดีความชอบเป็นพิเศษ
คุณจะกล่าวแสดง
ความยินดีอย่างไร ผู้ฟังจึงจะรู้สึกว่าผู้พูดไม่มีอคติ
(ความรู้, ความเข้าใจ, การนำไปใช้)
๑. ยินดีด้วยนะ คุณนี่ก้าวหน้าเกินคาด
๒. ยินดีด้วยนะ
เมื่อไหร่คุณจะเลี้ยงล่ะ
๓. ยินดีด้วยนะ
ส้มหล่นถูกคุณพอดี
๔. ยินดีด้วยนะ
คนที่เจ้านายรักก็อย่างนี้แหล่ะ
๕. ยินดีด้วยนะ คนเก่งก็อย่างนี้แหละ โชคดีเสมอ
๗๔. เพื่อนประสบอุบัติเหตุถูกรถชนขาหักต้องเข้าเฝือกและพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
เมื่อคุณไปเยี่ยมเพื่อน ควรพูดปลอบใจเพื่อนว่าอย่างไร
(ความรู้, ความเข้าใจ, การนำไปใช้)
๑. โชคดีมากเลยนะเพื่อน ที่รอดชีวิตมาได้
๒.
โชคดีมากนะเลยเพื่อน ที่หมอไม่ตัดขาทิ้ง
๓. ไม่ต้องกังวลนะเพื่อน ถ้ายังไม่หายเราก็จะมาเยี่ยมอีก
๔. ไม่ต้องคิดมากนะเพื่อน เรื่องถูกตัดขา
คิดเสียว่ามันเป็นกรรมเก่าของเรา
๕. ไม่ต้องกังวลนะเพื่อน
หมอบอกว่าอีกไม่กี่วันก็จะหาย
๗๕.
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการกล่าวไว้อาลัยคือข้อใด (ความรู้, ความเข้าใจ,
การนำไปใช้)
๑. กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
๒. กล่าวถึงผลงานหรือคุณความดีที่ทำไว้
๓. กล่าวแสดงความอาลัย
๔. กล่าวถึงประวัติอย่างสั้นๆ
๕. กล่าวถึงความผูกพันที่มีต่อกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น