ปวส ภาษาไทย 2
ประเด็นที่ ๕ การเขียนจดหมายกิจธุระที่จำเป็นต่องานอาชีพ
๕.๑) ความหมายของจดหมายในงานอาชีพ
๕.๒) ความสำคัญของการเขียนจดหมายในงานอาชีพ
๕.๓) หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนในงานอาชีพ
๕.๔) ประเภทของจดหมายที่จำเป็นต่องานอาชีพ
สาระสำคัญ
จดหมายใช้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆทั้งเรื่องส่วนตัว กิจธุระและธุรกิจ ผู้เขียนควรใช้ภาษาที่สุภาพ เรียบง่าย แสดงถึงความจริงใจและครอบคลุมสาระสำคัญที่ต้องการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อสาร
ข้อสอบ (ประเด็นที่ ๕)
๗๖. ข้อใดคือประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของจดหมาย (การนำไปใช้)
๑. เป็นการสื่อสารที่สะดวก
๒. เขียนข้อความได้มาก
๓. ประหยัดค่าใช้จ่าย
๔. เป็นสากล
๕. เป็นหลักฐาน
๗๗. มารยาทในการใช้จดหมายที่ผู้รับสังเกตได้เป็นอันดับแรกคืออะไร (การนำไปใช้)
๑. กระดาษเขียนและซองจดหมาย
๒. การจ่าหน้าซองจดหมาย
๓. ลายมือหรืออักษรที่พิมพ์
๔. ความเป็นระเบียบ
๕. ภาษาที่ใช้
๗๘. ข้อใดเป็นการใช้สรรพนามที่ถูกต้องในการเขียนจดหมายธุรกิจ (การนำไปใช้, การวิเคราะห์)
๑. บริษัท สามสหาย จำกัด ได้รับจดหมายจากท่านแล้ว
๒. กระผมได้รับจดหมายสั่งซื้อจากท่านแล้ว
๓. ข้าพเจ้าได้รับจดหมายจากท่านแล้ว
๔. เราในนามตัวแทนของบริษัทฯ ได้รับจดหมายจากท่านแล้ว
๕. ผู้จัดการของบริษัทฯ ได้รับจดหมายจากท่านแล้ว
๗๙. คำลงท้ายโดยทั่วไปของจดหมายธุรกิจใช้ว่าอย่างไร (การนำไปใช้)
๑. ด้วยความนับถือ
๒. ด้วยความเคารพ
๓. ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
๔. ขอแสดงความนับถือ
๕. ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
๘๐. จดหมายประเภทใดที่มีเนื้อหาเหมือนจดหมายเสนอขาย (การวิเคราะห์)
๑. จดหมายสอบถาม
๒. จดหมายสมัครงาน
๓. จดหมายปรับความเข้าใจ
๔. จดหมายขอเปิดเครดิต
๕. จดหมายติดตามหนี้
๘๑. ภาษาที่ใช้ในการเขียนจดหมายควรเป็นแบบใด (การนำไปใช้)
๑. ใช้ถ้อยคำเชิงสร้างสรรค์
๒. ใช้ถ้อยคำสุภาพชัดเจน
๓. ใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมา
๔. ใช้ถ้อยคำสั้นๆ แต่ได้ใจความ
๕. ใช้ถ้อยคำตามลักษณะของผู้รับเป็นสำคัญ
๘๒. ข้อใดควรกล่าวถึงในจดหมายสมัครงาน (การนำไปใช้)
๑. เงินเดือนที่ต้องการ
๒. ความเดือดร้อนทางครอบครัว
๓. สาเหตุที่ต้องออกจากงานเดิม
๔. สาเหตุที่เลือกงานนี้
๕. ความสามารถของผู้บริหาร
๘๓. “ถ้าท่านไม่ชำระหนี้ตามกำหนด บริษัทฯจะดำเนินการขั้นเด็ดขาดต่อไป”
ข้อความนี้บกพร่องในเรื่องใด (การนำไปใช้, การวิเคราะห์)
๑. ขาดความระลึกถึงผู้อ่าน
๒. ขาดความกะทัดรัด
๓. ขาดความสุภาพ
๔. ขาดความสละสลวย
๕. ขาดความชัดเจนในการปฏิบัติ
๘๔. จุดประสงค์ของจดหมายในสังคมธุรกิจคืออะไร (ความเข้าใจ)
๑. เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน
๒. เพื่อขอบคุณผู้ร่วมงาน
๓. เพื่อแสดงความมีน้ำใจต่อกัน
๔. เพื่อแสดงความคุ้นเคย
๕. เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน
๘๕. จดหมายเชิญประชุมมีประโยชน์อย่างไร (ความเข้าใจ)
๑. แจ้งนัดวัน เวลา สถานที่ในการประชุมให้สมาชิกได้รับทราบทั่วกัน
๒. ทำให้ทราบความเคลื่อนไหวของหน่วยงานหรือองค์กร
๓. ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานได้
๔. ทำตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ
๕. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม
๘๖. โดยปกติเลขานุการต้องแจ้งกำหนดการประชุมล่วงหน้าก่อนการประชุมกี่วัน (การนำไปใช้)
๑. ๓ วัน
๒. ๔ วัน
๓. ๕ วัน
๔. ๖ วัน
๕. ๗ วัน
๘๗. การเขียนจดหมายสมัครงาน ข้อใดควรกล่าวถึงเป็นอันดับแรก (การนำไปใช้)
๑. รายละเอียดส่วนตัวและการศึกษา
๒. บอกแหล่งที่มาของข่าวการรับสมัคร
๓. ผู้รับรองคุณสมบัติของผู้สมัครงาน
๔. ประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้สมัคร
๕. ความสนใจและความตั้งใจในการทำงาน
๘๘. คำว่า “สถานภาพ” หมายถึง (ความเข้าใจ)
๑. เพศ ชายหรือหญิง
๒. คู่ครอง สมรส หรือโสด
๓. ตำหนิที่สังเกตได้
๔. ความเป็นอยู่ของครอบครัว
๕. ความมั่นคงทางการเงิน
๘๙. บุคคลในข้อใดไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้รับรองในจดหมายสมัครงาน
(ความเข้าใจ, การนำไปใช้, การวิเคราะห์)
๑. ครู-อาจารย์
๒. นักการเมือง
๓. พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง
๔. เจ้าของสถานประกอบการที่เคยฝึกงาน
๕. ผู้อำนวยการในสถานที่ศึกษาอยู่
๙๐. การเขียนข้อความปิดท้ายจดหมายสมัครงานข้อใดเหมาะสมที่สุด (การวิเคราะห์)
๑. ดิฉันหวังว่าท่านจะสนใจและเรียกดิฉันเข้ารับการสัมภาษณ์ในเร็ววัน
๒. ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสร่วมงานกับท่าน กรุณาเรียกดิฉันเข้ารับการสัมภาษณ์
ได้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ข้างต้น
๓. ดิฉันหวังว่าคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นของดิฉันคงจะทำให้ท่านสามารถตัดสินใจเลือกคน
เข้าทำงานได้ถูกต้อง
๔. ดิฉันหวังว่าท่านคงไม่เป็นเช่นลิงที่ได้แก้ว คือ ได้ของดีแต่กลับไม่เห็นคุณค่า โปรดอย่าลืมว่า
ดิฉันคือแก้วที่ควรได้รับการพิจารณา ขอขอบพระคุณ
๕. ดิฉันหวังว่าท่านจะมีจิตเมตตาพิจารณารับดิฉันเข้าทำงาน ดิฉันขอสัญญาว่าจะไม่ลืมบุญคุณ
ครั้งนี้ และจะตอบแทนด้วยการทำงานจนสุดความสามารถเพื่อความเจริญของบริษัท
ประเด็นที่ ๖ การเขียนโฆษณาและการเขียนประชาสัมพันธ์
๖.๑) ความหมายของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
๖.๒) ความสำคัญของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
๖.๓) จุดมุ่งหมายของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
๖.๔) องค์ประกอบของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
๖.๕) หลักการเขียนข้อความโฆษณาและประชาสัมพันธ์
๖.๖) การใช้ภาษาในการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
๖.๗) เครื่องมือ-สื่อที่ใช้ในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
๖.๘) ประเภทของงานเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
สาระสำคัญ
การเขียนโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เป็นการเขียนที่ต้องเลือกสรรถ้อยคำที่กะทัดรัด แปลกใหม่ เร้าใจ และมีความหมายเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้รับสารคล้อยตาม
การโฆษณา
การโฆษณา คือ การเผยแพร่ข้อมูลความจริง หรือการชี้แจงเหตุผลต่างๆ ต่อสาธารณชนโดยมุ่งหมายที่จะขายหรือช่วยให้การขายสินค้าหรือบริการนั้นๆ ได้ผลดียิ่งขึ้นหรือเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารให้เห็นคล้อยตามหรือปฏิบัติตามคำเชิญชวนให้ซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
การประชาสัมพันธ์
เป็นการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร นโยบาย กิจกรรม ผลงาน ของหน่วยงานให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปรับทราบ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดี เกิดความเชื่อถือในชื่อเสียงของหน่วยงานและให้ความร่วมมือจนบรรลุเป้าหมายของงาน
การประชาสัมพันธ์แตกต่างจากการโฆษณาขาย เนื่องจากมิได้มุ่งผลในด้านการขายสินค้าหรือบริการโดยตรงแต่มุ่งเสริมสร้างภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีของประชาชนต่อหน่วยงาน หรือสินค้าที่ประชาสัมพันธ์ โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงเป็นหลัก
องค์ประกอบของการโฆษณา
๑. สิ่งที่ต้องการเสนอ ต้องการขาย ต้องการบอก
๒. ลักษณะของสินค้าหรือบริการ ชนิดและส่วนประกอบ
๓. คุณภาพหรือคุณประโยชน์ของสิ่งที่โฆษณา
๔. ควรมีภาพประกอบที่สวยงาม
๕. สถานที่ติดต่อซื้อหา สามารถติดต่อได้ด้วยวิธีใด เช่น ทางโทรศัพท์ ทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
หลักการเขียนข้อความโฆษณาที่ดี
๑. มีส่วนนำที่สะดุดหู สะดุดตา เพื่อให้สะดุดใจ ใช้ถ้อยคำแปลก ๆ ใหม่ ๆ คำสัมผัสอักษร คำเลียนเสียงธรรมชาติ เป็นต้น
๒. เนื้อหาชี้ให้เห็นคุณภาพของสินค้าหรือบริการ เชิญชวนให้ผู้รับสารยอมรับหรือให้ความสนใจ
๓. แสดงคุณสมบัติที่ดีของสินค้าหรือบริการ โน้มน้าวใจให้เห็นว่าสินค้า หรือบริการของตนสามารถสนองความต้องการพื้นฐานของผู้บริโภคได้
๔. เขียนโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริง นำเสนอข้อดีเด่นหรือคุณภาพของสินค้าให้มากที่สุดตามความเป็นจริง แต่อย่าอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง
๕. ไม่กล่าวหา พาดพิง ทับถมหรือโจมตีคู่แข่ง พูดถึงเฉพาะส่วนดีของสินค้าและบริการของเรา
การใช้ภาษาเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
๑. สื่อความหมายชัดเจน กะทัดรัด ได้ใจความ เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของสินค้า เหมาะสมกับผู้บริโภคและเหมาะสมกับสื่อที่ใช้ในการโฆษณา หลีกเลี่ยงการใช้คำที่มีความหมายกำกวม คำย่อและศัพท์เฉพาะทางวิชาชีพ
๒. ใช้ภาษา แจ่มแจ้งชวนสนใจ เช่น จิ๋วแต่แจ๋ว ห้าห่วงทนหายห่วง
๓. ใช้ประโยคสั้น ๆ วลีสั้น ๆ กะทัดรัด ดึงดูดใจ จดจำง่าย ให้ผู้รับสารรับได้อย่างฉับพลัน เช่น จิบนิดเดียวจับใจ ขวดใหญ่ไม่แพง เล็กประหยัดเลิศประโยชน์ ฯลฯ
๔. เป็นภาษาสุภาพ ไม่ส่อเสียด ไม่ขัดต่อศีลธรรม หลีกเลี่ยงคำผวน คำสองแง่สองมุม
๕. ภาษาที่ใช้ในข้อความโฆษณาควรทำให้ผู้รับสารเกิดความรู้สึก ๓ ประการ คือ
๕.๑ ปฏิกิริยารับรู้ เช่น นึกถึงวันพักผ่อน นึกถึงชะอำ นึกถึงชะอำ !! นึกถึงโกลเด้น แซนด์ส
๕.๒ ปฏิกิริยาโต้ตอบทันที เช่น ซื้อ ๑ แถม ๑, พลาดครั้งนี้ไม่มีอีกแล้ว
๕.๓ เกิดจินตนาการ เช่น อักษรคมชัด ประหยัดแรง แบ่งเบาภาระ
ข้อสอบ (ประเด็นที่ ๖)
๙๑. ข้อใดเป็นภาษาโฆษณา (วิเคราะห์)
๑. กระชากเบื้องหลังวัดเถื่อน
๒. รัฐบาลเปิดไฟเขียวต่ออายุ อ.ตร.
๓. บึกบึนในป่า ฟู่ฟ่าในเมือง ไม่เปลืองน้ำมัน
๔. บีบคอแม่โขง เหล้าไม่ขึ้นราคาแน่
๕. ส.ส. ประกาศกร้าว ยันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
๙๒. สำนวนภาษาโฆษณาไม่ควรนำมาเป็นแบบฉบับในการใช้ภาษา เพราะเหตุใด (เข้าใจ)
๑. ผู้ส่งสารไม่มีความรู้
๒. ผู้ส่งสารต้องเร่งรัดแข่งกับเวลา
๓. ผู้ส่งสารต้องการดึงดูดความสนใจผู้รับสาร
๔. สารไม่เหมาะสมกับระดับบุคคล
๕. ผู้ส่งสารมิได้พิถีพิถันในการใช้สารให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน
๙๓. ข้อใดไม่เป็นภาษาโฆษณา (วิเคราะห์)
๑. รักคุณเท่าฟ้า
๒. เหนื่อยนักก็พักก่อน
๓. บริการทุกระดับประทับใจ
๔. เสริมสุขภาพทุกวันกับนมเปรี้ยว
๕. จ่ายเบา ๆ แบบนี้ใคร ๆ ก็เป็นเจ้าของได้
|
๙๔.
โฆษณาข้างต้นนี้ควรเพิ่มเติมอย่างไรจึงจะสื่อสารได้ชัดเจน (นำไปใช้)
๑. ติดต่อคุณสุดสาคร
๒. ติดต่อด่วน
๓. ติดต่อ โทร.๐๘๑-๙๔๕๙๙๘๗
๔. ดูบ้านได้ทุกวัน
๕. ติดต่อได้ทุกเวลา
๙๕. ข้อความใดเป็นโฆษณาบริการ (เข้าใจ)
๑. เราคนไทย ใช้บางจาก
๒. บ้านสมถวิล มิสุดสิ้นถวิลหา ใกล้กว่าแสนสบาย
๓. สกินดีโลชั่น ทำหน้าที่บำรุงผิวให้คุณตลอด ๒๔ ชั่วโมง
๔. ทัวร์สุขภาพ ทัวร์ธรรมชาติบำบัด ล้างพิษ เพื่อสุขภาพที่ดี
๕. แพริมน้ำ อาหารอร่อย สถานที่สะอาด ลิ้มรสชาติอาหารทิพย์
๙๖. ข้อใดแสดงลักษณะเด่นของบทโฆษณานี้ (วิเคราะห์)
“มาร่าเริงสดใสในโลกสดสวยด้วยสีไอซียู”
๑. ใช้คำที่ก่อให้เกิดจินตภาพ
๒. ใช้คำขยายให้เห็นความนัย
๓. ใช้คำแสดงจุดเด่นของสินค้า
๔. ใช้คำที่มีจังหวะคล้องจอง
๕. ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน
๙๗. "……………ไม่เพียงแต่นำประกายแสงอาทิตย์ยามเย็นมาแซมผมได้เท่านั้น
แต่ยังทำให้เราค้นพบสีผมที่เหมาะสมกับตัวเองจริง ๆ อีกด้วย”
คำโฆษณาข้างต้น มีลักษณะตรงกับข้อใด (วิเคราะห์)
๑. แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน
๒. แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งข้อดีและข้อเสียของสินค้า
๓. เนื้อหาชี้ให้เห็นความดีวิเศษของคุณภาพสินค้าที่นำเสนอ
๔. ตัวสารไม่ใช้ถ้อยคำที่ยืดยาว มักเป็นรูปประโยคหรือวลีสั้น ๆ
๕. ใช้ส่วนนำที่สะดุดหู สะดุดตา ซึ่งมีผลทำให้สะดุดใจสาธารณชน
๙๘. “เสริมบุคลิกใหม่ป้องกันผมร่วง”
โฆษณานี้มีลักษณะตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในข้อใด (นำไปใช้)
๑. ความเป็นธรรม
๒. ความประหยัด
๓. ได้รับการยกย่อง
๔. ความปลอดภัย
๕. ความสะดวกสบาย
๙๙. ข้อใดใช้ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ในด้านสร้างความภูมิใจในเพศหรือศักดิ์ศรี
มาเป็นแนวคิดในการเขียนโฆษณา (วิเคราะห์)
๑. รสชาติของคนรุ่นใหม่
๒. เอกลักษณ์ของเอกบุรุษ
๓. เบียร์………….เบียร์ไทยของเรา
๔. ยินดีมอบสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าทุกท่าน
๕. อย่าเอาแน่อะไรกับกับรางวัล ถ้ายังไม่ได้ ๒ ปีซ้อน
๑๐๐. การประชาสัมพันธ์แตกต่างจากการโฆษณามากที่สุดในข้อใด (เข้าใจ)
๑. มุ่งเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
๒. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดี
๓. อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงเป็นหลัก
๔. มิได้มุ่งผลด้านการขายสินค้าหรือบริการโดยตรง
๕. เพื่อให้ชื่อเสียงของหน่วยงานหรือสินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ
๑๐๑. ข้อใดเป็นข้อความประชาสัมพันธ์ (วิเคราะห์)
๑. ผลิตไฟฟ้า พัฒนาไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
๒. ๒๕ ปี แห่งความภาคภูมิใจ สำหรับคนรักบ้าน
๓. สนามกอล์ฟที่ได้มาตรฐานและสะดวกสบายแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก
๔. เรา “บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)” จะทำในสิ่งที่ดี ๆ ต่อไป เพื่อโลกใบนี้
ที่เป็นบ้านของเรา
๕. เพราะคุณภาพชีวิตของคุณคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ฮอนด้าคิดค้นเทโนโลยีวีเทค เลฟ เพื่อคนไทย จะได้มีอากาศบริสุทธิ์ไว้หายใจตลอดไป
๑๐๒. “สดใสยามเช้า คลายเศร้ายามบ่าย ..................................... สบายยามเย็น”
ควรเติมข้อความใดในช่องว่าง เพื่อให้ได้ความหมายและสัมผัสคล้องจอง (ประเมินค่า)
๑. ร่างกายผ่อนคลาย
๒. สุขสันต์มิวาย
๓. อกผึ่งไหล่ผาย
๔. รื่นเริงเย็นกาย
๕. ชีวิตวุ่นวาย
๑๐๓. คำถามจากข้อ ๑๐๒ ท่านคิดว่า เหมาะสมกับการโฆษณาสินค้าประเภทใดมากที่สุด (นำไปใช้)
๑. สบู่
๒. ลูกอม
๓. น้ำหวาน
๔. ยาสีฟัน
๕. น้ำยาบ้วนปาก
๑๐๔. การเขียนข้อความโฆษณา ควรเสนอข้อมูลสินค้าอย่างไร (ความรู้)
๑. เสนอข้อมูลที่เป็นจริง
๒. เสนอข้อมูลแข่งขันกับคู่แข่ง
๓. เสนอข้อมูลตามความพอใจของผู้ขาย
๔. เสนอข้อมูลอวดอ้างสรรพคุณเล็กน้อย
๕. เสนอข้อมูลอวดอ้างสรรพคุณให้เกินความจริง
๑๐๕. สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดในการเขียนเพื่อประชาสัมพันธ์ (ความรู้)
๑. มีเนื้อหาชัดเจน
๒. มีการเว้นวรรคตอน
๓. เขียนด้วยภาษาที่ถูกต้อง
๔. ใช้ประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด
๕. ลำดับเรื่องราวให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน
๑๐๖. คำขวัญเพื่อการโฆษณาในข้อใดเป็นคำขวัญที่ใช้สร้างภาพพจน์ให้แก่สินค้า (นำไปใช้)
๑. ทุกชีวิตปลอดภัยในวอลโว่
๒. อีโนคลายกรดลดแน่นเฟ้อ
๓. ฮิตาชิ เปิดปุ๊บติดปั๊บ
๔. ทิฟฟี่แผงสีเขียว
๕. ซักสะอาดในน้ำเดียว
๑๐๗. ข้อใด ไม่ใช่ บทโฆษณา (เข้าใจ)
๑. งานที่เลือกสรร สารพันสิ่งสุข เพื่อบ้านเมืองและครอบครัวของคุณ
๒. ละครเพลงตรีภพโดยนักแสดงมืออาชีพ เนื้อหาสนุกสนานประทับใจ เพลงไพเราะ
๓. โรงเรียนอนุบาลหมีน้อย ดูแลบุตรหลานของท่านให้มีสุขภาพดี ร่าเริงปลอดภัยไร้กังวล
๔. การบริหารกายเป็นกิจกรรมที่มีลีลาเชื่องช้า แต่ช่วยการไหลเวียนของโลหิตและทำให้จิตแจ่มใส
๕. จังหวัดกาญจนบุรีเชิญชวนเที่ยวงาน“เมืองประวัติศาสตร์ ธรรมชาติอัศจรรย์ สวรรค์นักผจญภัย”
๑๐๘. ข้อความใดเป็นการประชาสัมพันธ์ (เข้าใจ)
๑. น้ำมันปาล์มขึ้นราคาอีกลิตรละ ๗ บาท
๒. ก๊าซ NGV ก๊าซธรรมชาติ ปลอดภัย ไร้มลพิษ
๓. จุดสูงสุดของใครบางคน เป็นแค่เพียง ก้าวหนึ่งของเรา
๔. สมุนไพรลีลาวดี เคียงคู่ความงามของหญิงไทยมากว่า ๔๐ ปี
๕. เทศบาลให้บริการเก็บขยะตามบ้านในเวลา ๒๐.๐๐ น. ของทุกวัน
จากข้อความต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ ๑๐๙-๑๑๐
|
๑๐๙. การเขียนข้อความโฆษณาข้างต้น ข้อความใดอาจทำให้ผู้รับสารเข้าใจผิด (วิเคราะห์)
๑. ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา
๒. สามารถคืนทุนภายใน ๔-๖ เดือน
๓. สารอาหารเช้าครบ ๕ หมู่ ...เลือกเวลาเปิดได้
๔. กำไรต่อเดือนมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๕. ขยายแฟรนไชส์ของตัวเองต่อได้ทั่วประเทศไม่จำกัด
๑๑๐. โฆษณาดังกล่าว ควรเพิ่มข้อความใดเพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่าน (นำไปใช้)
๑. ร้านอาหาร ๕ หมู่ คู่สุขภาพ คู่คุณ
๒. กิจการน่าสนใจ ควรค่าแก่การลงทุน
๓. ร้านอาหารธรรมชาติ ที่คุณสร้างสรรค์ได้
๔. ร้านอาหารสุขภาพ ลงทุนง่าย ขายดี มีกำไร
๕. ง่ายต่อการเป็นเจ้าของกิจการ ด้วยตัวคุณเอง
ประเด็นที่ ๗ การเขียนรายงาน
๗.๑) ความหมายของการเขียนรายงาน
๗.๒) วัตถุประสงค์ของการเขียนรายงาน
๗.๓) ประเภทของรายงาน
๗.๔) ขั้นตอนการเขียนรายงาน
๗.๕) ส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการ
๗.๖) หลักการเขียนอ้างอิง
สาระสำคัญ
ในชีวิตประจำวัน ผู้เรียนต้องเรียนรู้ส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการ มีทักษะในการเขียนรายงานสามารถเขียนรายงานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
ข้อสอบ (ประเด็นที่ ๗)
๑๑๑. ส่วนประกอบสำคัญของรายงานคืออะไร (ความเข้าใจ)
๑. ปก เนื้อหา ส่วนท้าย
๒. ส่วนหัว เนื้อหา ปกหลัง
๓. ส่วนต้น คำนำ ส่วนท้าย
๔. ส่วนต้น เนื้อหา ส่วนท้าย
๕. เนื้อหา ปก ส่วนหัว
๑๑๒. ปกรายงานควรมีลักษณะอย่างไร (การนำไปใช้)
๑. สีสุภาพ มีชื่อเรื่องรายงาน ชื่อผู้จัดทำ
๒. สีสุภาพ มีลวดลาย มีชื่อเรื่อง
๓. สีสุภาพ มีลวดลายหน้าสนใจ มีชื่อเรื่องรายงาน
๔. สีสะดุดตา มีชื่อเรื่องรายงานและชื่อผู้จัดทำ
๕. สีสะดุดตา มีลวดลายน่าสนใจ มีชื่อเรื่องรายงาน
๑๑๓. ส่วนใดของรายงานที่ทำให้ผู้อ่านรู้ขอบเขตเนื้อหาของรายงาน (ความเข้าใจ)
๑. หน้าปก
๒. คำนำ
๓. สารบัญ
๔. เนื้อเรื่อง
๕. เชิงอรรถ
๑๑๔. การเรียบเรียงหัวข้อย่อยของรายงานควรอยู่ในขั้นตอนใด (การนำไปใช้)
๑. เลือกหัวข้อเรื่อง
๒. การวางโครงเรื่อง
๓. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
๔. การค้นคว้ารวบรวมข้อมูล
๕. การเขียนบรรณานุกรม
๑๑๕. การอ้างอิงหนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าควรระบุรายละเอียดอะไรบ้าง (การนำไปใช้)
๑. ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง โรงพิมพ์ ปีที่พิมพ์
๒. ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง โรงพิมพ์ ปีที่พิมพ์ หน้า
๓. ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์ โรงพิมพ์ ปีที่พิมพ์
๔. ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์ โรงที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์
๕. ชื่อผู้แต่ง สถานที่พิมพ์ ชื่อเรื่อง โรงพิมพ์ หน้า
๑๑๖. ควรเขียนบรรณานุกรมเรียงลำดับหนังสืออย่างไร (การสังเคราะห์)
๑. เรียงลำดับตามปีที่พิมพ์
๒. เรียงลำดับตามชื่อผู้แต่ง
๓. เรียงลำดับตามตัวอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง
๔. เรียงลำดับตามตัวอักษรตัวแรกของโรงพิมพ์
๕. เรียงลำดับตามความสำคัญของเนื้อเรื่อง
๑๑๗. คำอธิบายสาระสำคัญของรายงานตรงกับข้อใด (ความเข้าใจ)
๑. เนื้อเรื่อง
๒. อัญประกาศ
๓. สารบัญภาพ
๔. เชิงอรรถ
๕. คำนำ
๑๑๘. เนื้อหาของรายงานจัดเป็นส่วนประกอบใดของรายงาน (ความเข้าใจ)
๑. ส่วนประกอบตอนต้น
๒. ส่วนประกอบตอนท้าย
๓. ส่วนเนื้อเรื่อง
๔. ส่วนอ้างอิง
๕. ส่วนบรรณานุกรม
๑๑๙. ส่วนใดของรายงานที่ไม่ต้องเขียนข้อความใด (ความเข้าใจ)
๑. ปกนอก
๒. ปกใน
๓. คำนิยม
๔. ใบรองปก
๕. ส่วนท้าย
๑๒๐. ข้อใดเรียงลำดับถูกต้อง (ความเข้าใจ)
๑. สารบัญ ใบรองปก หน้าชื่อเรื่อง
๒. หน้าปก เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม
๓. คำนำ หน้าปก ใบรองปก
๔. สารบัญ หน้าชื่อเรื่อง บรรณานุกรม
๕. คำนำ หน้าปก ใบรองปก
๑๒๑. การเขียนรายงานทางวิชาการมีความสำคัญ เพราะเหตุใด (การสังเคราะห์)
๑. เป็นหลักทางการศึกษาค้นคว้า
๒. เป็นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
๓. เป็นความเชื่อและภูมิปัญญาไทย
๔. เป็นการศึกษาประวัติความเป็นมา
๕. เป็นการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
๑๒๒. การเขียนรายงานที่ประสบความสำเร็จผู้เขียนรายงานควรมีลักษณะนิสัยอย่างไร (ความเข้าใจ)
๑. มีพรสวรรค์
๒. มีนิสัยชอบการค้นคว้า
๓. มีนิสัยรักการอ่าน
๔. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
๕. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๑๒๓. การเขียนรายงานวิชาการข้อใดสำคัญที่สุด (การสังเคราะห์)
๑. การเขียนสะกดการันต์ถูกต้อง
๒. ความสะอาดสวยงาม
๓. ขั้นตอนถูกต้อง
๔. หลักฐานอ้างอิงถูกต้องน่าเชื่อถือ
๕. การเรียบเรียงด้วยสำนวนของตนเอง
๑๒๔. การเขียนเชิงอรรถหลัก คือเชิงอรรถประเภทใด (ความเข้าใจ)
๑. เชิงอรรถอ้างอิง
๒. เชิงอรรถโยง
๓. เชิงอรรถเสริมความ
๔. เชิงอรรถอธิบาย
๕. เชิงอรรถขยายความ
๑๒๕. การตั้งชื่อเรื่องของรายงานควรมีลักษณะใด (การสังเคราะห์)
๑. ชื่อเรื่องน่าสนใจ
๒. ชื่อเรื่องทันสมัย
๓. ผู้เขียนรายงานมีความสนใจ
๔. มีเอกสารอ้างอิงเพียงพอ
๕. มีที่ปรึกษาและอาจารย์แนะนำ
๑๒๖. แหล่งค้นคว้าข้อมูลในการเขียนรายงานที่ทันสมัยคือข้อใด (การสังเคราะห์)
๑. เอกสารสิ่งพิมพ์
๒. หนังสือวิชาการ
๓. หนังสือพิมพ์
๔. โทรทัศน์
๕. อินเทอร์เน็ท
๑๒๗. รายงานในข้อใดที่ควรเลือกทำเป็นอันดับแรก (การนำไปใช้)
๑. โลกสดใส หัวใจสุขสันต์
๒. โลกร้อน ซ่อนภาวะวิกฤต
๓. โลกแห่งสมุนไพร
๔. โลกใบนี้มีแต่รัก
๕. โลกคือหนึ่งในจักรวาล
๑๒๘. หาการอ้างอิงไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ต้องใช้อักษรย่อในข้อใด (การวิเคราะห์)
๑. ม.ป.ท.
๒. ม.ป.ป.
๓. ม.ป.พ.
๔. ม.ป.ส.
๕. ม.ป.ฟ.
๑๒๙. ส่วนใดของรายงานที่ไม่ต้องเขียนข้อความใดๆทั้งสิ้น (การสังเคราะห์)
๑. ปกนอก
๒. หน้าคำอุทิศ
๓. ใบรองปก
๔. ปกใน
๕. ปกหลัง
๑๓๐. ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการเขียนรายงาน (ความเข้าใจ)
๑. เพื่อให้มีความสามัคคีในหมู่คณะ
๒. เพื่อให้มีความกระตือรือร้น
๓. เพื่อให้นักศึกษามีความคิดอย่างมีระบบ
๔. เพื่อให้นักศึกษาผ่านเกณฑ์
๕. เพื่อให้นักศึกษามีนิสัยรักการคันคว้า
ประเด็นที่ ๘ การเขียนโครงการ
๘.๑) ความหมายของการเขียนโครงการ
๘.๒) ความสำคัญของการเขียนโครงการ
๘.๓) ประเภทของการเขียนโครงการ
๘.๔) ลักษณะของโครงการที่ดี
๘.๕) ส่วนประกอบของโครงการ
๘.๖) การใช้ถ้อยคำในการเขียนโครงการ
๘.๗) การเขียนโครงการทางวิชาการ
๘.๘) การเขียนโครงการทางธุรกิจ
สาระสำคัญ
ให้ผู้เขียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของโครงการที่ดี ส่วนประกอบของโครงการและการใช้ถ้อยคำในการเขียนโครงการ
โครงการเป็นการเสนอความคิดและการวางแผนในการดำเนินงานหรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
ที่มีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้ โครงการมีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ ชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ โครงการมี ๒ ประเภทคือ โครงการแบ่งตามระยะเวลาการปฏิบัติงานและโครงการแบ่งตามบุคคลผู้ปฏิบัติงาน โครงการที่ดีจะกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่มีความเป็นจริง มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน มีระยะเวลาการดำเนินการที่แน่ชัดปฏิบัติได้สอดคล้องกับแผนงานหลักของหน่วยงาน สามารถแก้ปัญหาของหน่วยงานได้
การเขียนรายละเอียดโครงการควรใช้ถ้อยคำสำนวนที่ชัดเจน มีเหตุผล กะทัดรัดและตามลำดับขั้นตอน
ข้อสอบ (ประเด็นที่ ๘)
๑๓๑. ประโยชน์ที่เราจะได้รับมากที่สุด เมื่อเราเขียนโครงการคือข้อใด (ความเข้าใจ)
๑. ก่อให้เกิดการวางแผนการทำงาน
๒. ประหยัดค่าใช้จ่าย
๓. ไม่เสียเวลา
๔. ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
๕. มีแนวทางในการปฏิบัติงาน
๑๓๒. โครงการในข้อใดที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด (ความเข้าใจ)
๑. โครงการที่เสนอโดยบุคคล
๒. โครงการระยะสั้น
๓. โครงการที่เสนอโดยหน่วยงานหรือองค์กร
๔. โครงการที่เสนอโดยกลุ่ม
๕. โครงการระยะยาว
๑๓๓. ข้อใดคือลักษณะที่คล้ายคลึงกันของโครงการประเภทกลุ่มและหน่วยงาน (การวิเคราะห์)
๑. ระยะเวลาในการเขียน
๒. ต้องมีการประชุมวางแผนก่อนการเขียน
๓. มีอำนาจในการต่อรอง
๔. มีความสมบูรณ์ของโครงการ
๕. มีการดำเนินการอย่างอิสระ
๑๓๔. การใช้ภาษาในการเขียนโครงการ ตรงกับข้อใดมากที่สุด (การนำไปใช้)
๑. ใช้ถ้อยคำที่สั้น กะทัดรัด ภาษาเขียนมาตรฐาน
๒. ใช้ภาษาไม่เป็นทางการ เพราะจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย
๓. ใช้พรรณนาโวหาร ใช้ถ้อยคำสละสลวย
๔. ใช้ภาษาที่เป็นทางการ หรือภาษากึ่งทางการ
๕. ควรเขียนอธิบายให้มาก เพราะจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย
คำชี้แจง จงใช้คำตอบต่อไปนี้ ตอบคำถาม ข้อ ๑๓๕-๑๓๗
๑. เป้าหมาย ๒. หลักการและเหตุผล ๓. วิธีการดำเนินงาน
๔. วัตถุประสงค์ ๕. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๓๕. เพื่อส่งเสริมให้มีการเผยแพร่แนวทางพิทักษ์วัฒนธรรมไทยให้กว้างขวาง (การวิเคราะห์)
๑๓๖. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน แจ้งผู้เข้าสัมมนาทราบ ดำเนินการสัมมนา สรุปผล (การวิเคราะห์)
๑๓๗. จึงเป็นการสมควรที่จะส่งเสริมให้มีการสัมมนาร่วมกับสื่อมวลชนในการแสวงหามาตรการพิทักษ์ รักษาวัฒนธรรมไทย (การวิเคราะห์)
คำชี้แจง จงใช้คำตอบต่อไปนี้ ตอบคำถาม ข้อ ๑๓๘-๑๓๙
๑. ค่าใช้จ่าย ๒. ผู้รับผิดชอบ ๓. วัตถุประสงค์
๔. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๕. หลักการและเหตุผล
๑๓๘. จากนโยบายของรัฐในด้านการพัฒนาสุขภาพอนามัยที่ว่า จะส่งเสริมการออกกำลังกายและการกีฬา เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและมีการพักผ่อนหย่อนใจที่ถูกต้อง (การวิเคราะห์)
๑๓๙. ประชาชนนิยมออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง (การวิเคราะห์)
คำชี้แจง จากสถานการณ์ต่อไปนี้ จงตอบคำถามข้อ ๑๔๐-๑๔๔
นักศึกษาเป็นประธานชมรมวิชาชีพบัญชี วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล จัดทำโครงการในนามคณะกรรมการชมรมวิชาชีพบัญชี เพื่อดำเนินการช่วยกันเก็บเศษกระดาษ ขยะต่าง ๆ บริเวณลานอเนกประสงค์และโรงอาหารเพื่อให้วิทยาลัยมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด
๑๔๐. โครงการนี้ควรตั้งชื่อว่าอะไร (การสังเคราะห์)
๑. ขยะในมือท่าน ทิ้งลงถังเถอะครับ
๒. ชมรมบัญชีพัฒนาสิ่งแวดล้อม
๓. บัญชีอาสา พัฒนาไกลกังวล
๔. ทำความสะอาดวิทยาลัยฯ
๕. อ๊ะ! อ๊ะ! อย่าทิ้งขยะ ตาวิเศษเห็นนะ
๑๔๑. ผู้รับผิดชอบโครงการ คือข้อใด (การวิเคราะห์)
๑. คณะกรรมการชมรมวิชาชีพบัญชี
๒. ประธานชมรมวิชาชีพบัญชี
๓. สมาชิกชมรมวิชาชีพบัญชี
๔. อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมวิชาชีพบัญชี
๕. ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
๑๔๒. เป้าหมายของโครงการนี้ คือข้อใด (การวิเคราะห์)
๑. เก็บขยะได้ ๓๐๐ ชิ้น
๒. วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลสะอาดปราศจากขยะ
๓. นักศึกษาชมรมวิชาชีพบัญชีช่วยกันเก็บขยะ
๔. จัดสร้างถังขยะ จำนวน ๑๐ ถัง
๕. ลานอเนกประสงค์และโรงอาหารสะอาด
๑๔๓. สถานที่ดำเนินการ คือข้อใด (การวิเคราะห์)
๑. วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
๒. ชมรมวิชาชีพบัญชี
๓. รอบบริเวณ วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
๔. ลานอเนกประสงค์ และโรงอาหาร วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
๕. หอประชุมวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
๑๔๔. วิธีการดำเนินการข้อใด ควรเป็นลำดับแรก และลำดับสุดท้าย (การนำไปใช้)
๑. เสนอโครงการ - เก็บขยะ
๒. ประชุมปรึกษา - ประเมินผล
๓. ประชุมปรึกษา –ดำเนินการเก็บขยะ
๔. เสนอโครงการ – ประชุม ปรึกษา
๕. เสนอโครงการ - ประเมินผล
คำชี้แจง จากสถานการณ์ต่อไปนี้ จงตอบคำถามข้อ ๑๔๕-๑๕๐
นายอภิชาติ นายกองค์การอ.ช.ท. วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี เขียนโครงการเสนอผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ให้จัดสร้างตู้หนังสือบริจาคไว้ ณ บริเวณหน้าห้องสมุด เพื่อให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจนำหนังสือที่ไม่ใช้แล้วมาใส่ตู้บริจาค เพื่อรวบรวมไปให้นักเรียนในชนบท นายอภิชาติและคณะจัดหาอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ได้ประมาณ ๒๐ คน โดยอาสาสมัครเหล่านี้จะไปประชาสัมพันธ์เพื่อหาผู้บริจาคหนังสือ ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ ๕๐๐ บาท ในการจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์เชิญชวนบริจาคหนังสือ คาดว่าจะได้หนังสือประมาณ ๑,๐๐๐ เล่ม ช่วงเวลาดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน คาดหมายว่าจะได้รับความสนใจจากนักศึกษาและประชาชนบริเวณใกล้เคียงเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ
๑๔๕. ความเป็นมาของโครงการนี้ คือข้อใด (การวิเคราะห์)
๑. ห้องสมุดยังขาดหนังสือในการค้นคว้าเป็นจำนวนมาก
๒. นักเรียนในชนบทขาดแคลนหนังสือ
๓. บุคคลส่วนใหญ่ไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๔. มีผู้ขาดทักษะทางการอ่านเป็นจำนวนมาก
๕. นักเรียนในชนบทมีหนังสืออ่านเพียงพอ
๑๔๖. วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คือข้อใด (การวิเคราะห์)
๑๔๖. วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คือข้อใด (การวิเคราะห์)
๑. เพื่อให้ประชาชนมาใช้ห้องสมุดมากขึ้น
๒. เพื่อให้ประชาชนรู้จักการค้นคว้าด้วยตัวเอง
๓. เพื่อให้เยาวชนในชนบทรักการอ่าน
๔. เพื่อนำไปบริจาคให้แก่โรงเรียนในชนบท
๕. เพื่อให้ห้องสมุดมีหนังสือมากขึ้น
๑๔๗. สถานที่ดำเนินการ คือข้อใด (การวิเคราะห์)
๑. วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
๒. องค์การ อ.ช.ท.
๓. รอบบริเวณ วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
๔. ลานดนตรี วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
๕. ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
๑๔๘. การประเมินผลโครงการนี้ ข้อใดเหมาะสมที่สุด (การวิเคราะห์)
๑. จากจำนวนหนังสือบริจาค
๒. จากจำนวนผู้เดินทางไปบริจาค
๓. แบบสอบถาม
๔. จากการสังเกต
๕. จากค่าใช้จ่าย
๑๔๙. โครงการนี้เป็นโครงการประเภทใด (การวิเคราะห์)
๑. เสนอโดยบุคคล
๒. เสนอโดยกลุ่ม
๓. เสนอโดยหน่วยงาน
๔. โครงการระยะยาว
๕. โครงการระยะสั้น
๑๕๐. จากโครงการตามข้อ ๑๔๙ เป็นลักษณะโครงการที่ดีหรือไม่เพราะเหตุใด (การประเมินค่า)
๑. ดี ทุกคนยอมรับได้
๒. ดี เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
๓. ดี เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
๔. ไม่ดี มีระยะเวลาในการดำเนินการน้อย
๕. ไม่ดี เพราะอาจมีผู้บริจาคน้อย
ประเด็นที่ ๙ การเขียนบทร้อยกรองในงานอาชีพ
๙.๑) ความหมายของบทร้อยกรอง
๙.๒) ลักษณะบังคับบทร้อยกรอง
๙.๓) ประเภทของบทร้อยกรอง
สาระสำคัญ
ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ความหมาย ของบทร้อยกรองลักษณะบังคับ และชนิดของ
บทร้อยกรอง ท่านผู้รู้มีความเห็นตามกันว่า ร้อยกรองเป็นการแสดงออกซึ่งการใช้ถ้อยคำของกวีเพื่อสื่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิด โดยเลือกเน้นถ้อยคำที่ไพเราะมาเรียบเรียงให้มีจังหวะลีลาคล้องจองกลมกลืนกัน อาจสรุปได้ว่า บทร้อยกรอง หมายถึง ถ้อยคำ ที่เรียบเรียงไว้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับบทร้อยกรอง
๑. สัมผัส
๒. วรรค
๓. บาท
๔. บท
๕. คำ ๕.๑) คำเป็น-คำตาย
๕.๒) คำเอก-คำโท
๕.๓) คำครุ-ลหุ
๕.๔) คำขึ้นต้นและคำลงท้าย
๕.๕) คำสร้อย
ประเภทของบทร้อยกรอง
บทร้อยกรองแบ่งได้เป็น ๕ ประเภท คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย
บทร้อยกรองที่นิยมนำมาใช้ในงานอาชีพ
บทร้อยกรองมีประเภทดังกล่าวมาแล้วนั้น ในปัจจุบันร้อยกรองที่นำมาใช้ในงานอาชีพมี ๓ ชนิด คือ กลอนสุภาพ(กลอน๘) โคลงสี่สุภาพ กาพย์ยานี ๑๑ โดยกลอนสุภาพ เป็นร้อยกรองที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
ข้อสอบ (ประเด็นที่ ๙)
๑๕๑. ข้อใดให้ความหมายที่ถูกต้องของคำว่า “บทร้อยกรอง” (ความรู้-ความจำ)
๑. ถ้อยคำที่แต่งขึ้นอย่างสละสลวย
๒. ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ตามจินตนาการ
๓. ถ้อยคำที่แต่งขึ้นโดยมีเสียงสูงเสียงต่ำ-สั้นยาว
๔. ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นนอย่างทันสมัย
๕. ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์
๑๕๒. ข้อใดมีเฉพาะในคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ (ความเข้าใจ)
๑. บท
๒. บาท
๓. วรรค
๔. คำเอก คำโท
๕. สัมผัส
๑๕๓. ข้อใดไม่ใช่การใช้บทร้อยกรองในงานอาชีพ (ความเข้าใจ)
๑. ร้อยกรองอวยพรวันครบรอบเปิดกิจการ
๒. บทร้อยกรองประชาสัมพันธ์สินค้า
๓. บทร้อยกรองโฆษณาตัวแทนจำหน่าย
๔. บทร้อยกรองอวยพรปีใหม่บริษัทคู่ค้า
๕. บทร้อยกรองอาศิรวาท
๑๕๔. บทร้อยกรองข้อใดไม่นิยมนำมาใช้ในงานอาชีพ (การนำไปใช้)
๑. ฉันท์
๒. กลอนแปด
๓. กลอนสุภาพ
๔. กาพย์ยานี ๑๑
๕. โคลงสี่สุภาพ
๑๕๕. สัมผัสใดที่ทำให้บทร้อยกรองไพเราะยิ่งขึ้น (ความเข้าใจ)
๑. สัมผัสอักษร
๒. สัมผัสสระ
๓. สัมผัสใน
๔. สัมผัสนอก
๕. สัมผัสระหว่างบท
๑๕๖. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการเขียนบทร้อยกรองเพื่องานอาชีพ (ความเข้าใจ)
๑. เพื่อการสื่อสารในวงธุรกิจ
๒. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ
๓. เพื่อแสดงไมตรีจิต
๔. เพื่อแสดงความรู้สึก
๕. เพื่อแสดงความรู้
๑๕๗. ข้อใดเป็นลักษณะบังคับเฉพาะของคำประพันธ์ประเภทฉันท์ (ความเข้าใจ)
๑. ครุ-ลหุ
๒. คำสร้อย
๓. คำเป็น-คำตาย
๔. คำเป็น-คำตาย
๕. สัมผัส
ประเด็นที่ ๑๐ การศึกษาวรรณกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑๐.๑) ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น
๑๐.๒) ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
สาระสำคัญ
๑. วรรณกรรมท้องถิ่น เป็นงานเขียนที่ปรากฏอยู่ในท้องถิ่นภาคต่างๆ ของไทย เนื้อหามักเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ มีรูปแบบตามความนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ ใช้ภาษาที่เรียบง่าย
๒. ภูมิปัญญาชาวบ้านคนไทยเป็นความรู้ ความคิดวิธีการที่คิดค้นขึ้นด้วยปัญญาของคนไทยเพื่อใช้แก้ปัญหาในการดำรงชีวิตให้มีความมั่นคง ปลอดภัยและมีความสุขได้แก่ ภูมิปัญญาในการเลือกตั้งถิ่นฐาน ภูมิปัญญาในการประกอบและเก็บถนอมอาหาร ภูมิปัญญาในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ฯลฯ
ข้อสอบ (ประเด็นที่ ๑๐)
๑๕๘. วรรณกรรมมีความหมายตรงกับข้อใด (ความรู้-ความจำ)
๑. งานประพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา
๒. งานประพันธ์ที่ให้ข้อคิดเป็นคติสอนใจ
๓. งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
๔. งานที่แสดงให้เห็นถึงพื้นความรู้ ความสามารถ
๕. งานประพันธ์ที่ถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์จิตนาการและประสบการณ์ของผู้เขียน
๑๕๙. ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความหมายตรงกับข้อใด (ความรู้-ความจำ)
๑. งานประพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา
๒. งานประพันธ์ที่ให้ข้อคิดเป็นคติสอนใจ
๓. งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
๔. งานที่แสดงให้เห็นถึงพื้นความรู้ ความสามารถ
๕. งานประพันธ์ที่ถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ จินตนาการ และประสบการณ์ของผู้เรียน
๑๖๐. การศึกษาวรรณกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ประโยชน์อย่างไร (ความรู้-ความจำ)
๑. เพื่อเผยแพร่สู่สากล
๒. เพื่อตั้งใจศึกษาอย่างจริงจัง
๓. เพื่อการนำคุณค่าที่ได้รับมาประยุกต์ใช้
๔. เพื่อให้รู้จักวรรณกรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
๕. เพื่อให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างวรรณกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑๖๑. วรรณกรรมประเภทใดมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คติสอนใจโดยตรง (ความรู้-ความจำ)
๑. ตำนาน
๒. นิทาน
๓. ปริศนาคำทาย
๔. เพลงพื้นบ้าน
๕. การละเล่น
๑๖๒. ปริศนาคำทายให้ประโยชน์ในด้านใดมากที่สุด (ความเข้าใจ)
๑. ความรู้
๒. ความเชื่อ
๓. ความสามัคคี
๔. ความสนุกสนาน
๕. ฝึกไหวพริบปฏิภาณ
๑๖๓. อาชีพใดมีการละเล่นเพื่อความบันเทิงมากที่สุด (ความรู้, ความเข้าใจ)
๑. ครู
๒. ชาวนา
๓. ชาวสวน
๔. ค้าขาย
๕. รับจ้าง
๑๖๔. คำประพันธ์ต่อไปนี้ให้แนวคิดในข้อใด (ความเข้าใจ)
“ไป่ฟังคนพูดฟุ้ง ฟั่นเฝือ
เท็จและจริงจานเจือ คละเคล้า
คือมีดเที่ยวกรีดเถือ ท่านทั่ว ไปนา
ฟังจะพาพลอยเข้า พวกเพ้อรังควาน”
๑. ไม่ควรฟังคนพูดโกหก
๒. ไม่ควรฟังคนพูดเพ้อเจ้อ
๓. ไม่ควรทำร้ายผู้อื่นด้วยคำพูด
๔. ควรฟังผู้มีศิลปะในการพูด
๕. ควรมีวิจารณญาณในการฟัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น